Announcements

ประกาศ ปรับรูปแบบบทความ และการอ้างอิงแบบ APA

2025-03-02

ประกาศ !!
วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ปรับรูปแบบบทความและการอ้างอิงแบบ APA มาใช้ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิชาการและความเป็นสากล

Read more about ประกาศ ปรับรูปแบบบทความ และการอ้างอิงแบบ APA

ฉบับปัจจุบัน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2025): (มกราคม - มิถุนายน 2568)
					ดู ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2025): (มกราคม - มิถุนายน 2568)
เผยแพร่แล้ว: 2025-06-30

ฉบับเต็ม

ดูทุกฉบับ
วัตถุประสงค์ของวารสาร
          วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทฤษฎี  และข้อคิดเห็นเชิงวิชาการในหลากหลายมิติ อาทิเช่น  เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เศรษฐศาสตร์การเมือง เศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม การเงิน พฤติกรรมองค์กร ระบบสหกรณ์ ระหว่างประเทศ การท่องเที่ยว การพัฒนาสังคมและชุมชน ตลอดจนด้านการบริหารและการจัดการ 
          วารสารมุ่งเน้นการส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์สู่แวดวงวิชาการและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์อย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน สังคม และภาคนโยบายในวงกว้าง
 
ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดรับตีพิมพ์บทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางเศรษฐศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งประเภทของผลงานที่รับพิจารณาดังนี้
                    1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอผลการศึกษาหรือการค้นคว้าเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ หรือประเด็นที่ต้องการคำตอบทางวิชาการ โดยมีการกำหนดกรอบแนวคิด การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการสรุปผลการศึกษาอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติได้
                    2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่มุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี หรือการวิเคราะห์และวิพากษ์แนวทางเศรษฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ โดยอาจเป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ หรือขยายขอบเขตความรู้เดิมในเชิงลึก เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และการนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มุ่งมั่นเป็นเวทีสำหรับการเผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและวงวิชาการในระดับกว้าง

ขอบเขตของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

         วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เผยแพร่บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ในหลายมิติและการพัฒนาสังคมและชุมชนและการจัดการ (การบริหารและการจัดการ) ต้องนำเสนอให้เห็นถึงการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการที่มีประโยชน์และน่าสนใจ รวมถึงการนำเสนอผลการวิจัยที่เป็นปัจจุบัน เป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและวิชาชีพ และบทความจะผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถในสาขาที่บทความนั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันโดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของบทความที่จะเผยแพร่ในวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องมีเนื้อหาครอบคลุมในด้าน ดังต่อไปนี้

         - ด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา            - ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง              - ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร

         - ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม           - ด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน               - ด้านเศรษฐมิติ

         - ด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม            - ด้านเศรษฐศาสตร์สหกรณ์               - ด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

         - ด้านเศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว        - ด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน      - ด้านการจัดการ (การบริหารและการจัดการ)

กำหนดการออกวารสาร
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ 
                    ฉบับที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน
                    ฉบับที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม - เดือนธันวาคม
 
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์) สำหรับบทความทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบทความภาษาไทยหรือบทความภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ วารสารมุ่งเน้นการสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้เขียน แต่อย่างไรก็ตาม บทความที่ส่งเข้ารับการพิจารณาต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด และต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรฐานทางวิชาการ กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์บทความในกรณีต่อไปนี้
                    1. บทความมีความซ้ำซ้อนของเนื้อหามากกว่า 25% จากการตรวจสอบด้วยโปรแกรมในระบบ ThaiJO ThaiJO หรือเรียกว่า Copycatch 
                    2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
                    3. บทความจะไม่ถูกตีพิมพ์ หากไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เขียนไม่ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการภายในระยะเวลาที่กำหนด
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยินดีเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและวงวิชาการโดยรวม
 
กระบวนการพิจารณาบทความของวารสาร
          วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและอังกฤษในรูปแบบ บทความวิจัย (Research) และบทความวิชาการ (Viewpoint) จากนักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยเผยแพร่มาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่น ทุกบทความต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร และจะได้รับการประเมินโดย ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน ผ่านกระบวนการ Double-blind peer review เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของเนื้อหา
          ความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน และไม่จำเป็นต้องสะท้อนมุมมองของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ วารสารไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง