เกี่ยวกับวารสาร

วารสารทัศนมิติทางการศึกษา (Journal of Perspectives in Education : JPE) จัดทำขึ้นโดยคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านการศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ตอบสนองพันธกิจหลักในการสร้างองค์ความรู้ และการเผยแพร่ผลงานวิชาการด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ด้าน Digital Transformation และความสามารถหลักของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการด้วยรูปแบบ Digital University อันเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาด้านการศึกษา

        ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นบทความวิชาการและบทความวิจัยของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนา สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา โดยเป็นบทความที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ

ขอบเขตวารสาร

        วารสารทัศนมิติทางการศึกษา (Journal of Perspectives in Education : JPE) เป็นวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางด้านการศึกษาที่หลากหลายสาขาวิชา (cross-disciplinary) ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ โดยมีขอบข่ายการรับตีพิมพ์ ดังนี้

สาขาที่รับตีพิมพ์

* การบริหารการศึกษา     * หลักสูตรและการสอน     * การจัดกระบวนการเรียนรู้       

* วิจัยการศึกษา     * การวัดและประเมินผลการศึกษา     * สถิติและสารสนเทศการศึกษา

* จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว     * สื่อทางการศึกษา     * เทคโนโลยีการศึกษา   

* การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย 

* และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาทุกระดับ

ประเภทของบทความ (ภาษาไทย)
     1. บทความวิจัย

      เป็นผลงานวิจัยของนักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ตามขอบเขตของวารสาร สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา บทความวิจัยไม่ควรเกิน 8,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, วัตถุประสงค์การวิจัย, วิธีดำเนินการวิจัย , ผลการวิจัย, อภิปรายผล, สรุปผลการวิจัย, ข้อเสนอแนะการวิจัย, หมายเลขจริยธรรมการวิจัย IRB (ถ้ามี), กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และรายการอ้างอิง
     2. บทความวิชาการ
     เป็นบทความวิชาการของนักวิชาการ และบุคคลทั่วไปด้านการศึกษา เป็นผลงานนำเสนอการวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มปัจจุบันและเสนอทิศทางในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการศึกษา ตามขอบเขตของวารสาร สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา บทความวิชาการไม่ควรเกิน 9,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, เนื้อเรื่อง, บทสรุป, กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และรายการอ้างอิง

กระบวนการพิจารณาบทความ 

           บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ที่หลากหลายสถาบัน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)  

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

       วารสารทัศนมิติทางการศึกษา ปีที่ 1/2566 (ฉบับที่ 1-3), ปีที่ 2/2567 (ฉบับที่ 1-3) และ ปีที่ 3/2568 (ฉบับที่ 1-3) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใด ๆ ทั้งสิ้น

ISSN 2822-1346 (Online)

 

Announcements

เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ

2023-04-30

วารสารทัศนมิติทางการศึกษา 

ปีที่ 1(2566) ฉบับที่ 1-3 (ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใด ๆ ทั้งสิ้น)

ปีที่ 2(2567) ฉบับที่ 1-3 (ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใด ๆ ทั้งสิ้น)

ปีที่ 3(2568) ฉบับที่ 1-3 (ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใด ๆ ทั้งสิ้น)

 

Read more about เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ

ฉบับปัจจุบัน

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2025): มกราคม-เมษายน 2568
					ดู ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2025): มกราคม-เมษายน 2568

การพัฒนาการศึกษาในยุคปัจจุบันท่ามกลางความหลากหลายของบริบททางสังคม วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ ล้วนส่งผลต่อแนวทางการบริหารจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ปลายด้ามขวานของประเทศไทย ซึ่งมีความเฉพาะตัวทั้งในด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความจำเป็นในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษา วารสารทัศนมิติทางการศึกษาปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มีบทความวิจัย 5 บทความ ที่มุ่งสะท้อนภาพการบริหารจัดการศึกษาที่เน้นบริบทท้องถิ่นควบคู่กับการประยุกต์ใช้แนวคิดทางวิชาการอย่างเหมาะสม โดยบทความเรื่อง “การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1” และ “รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของ Jeanette Plauche Parker and Lucy Gremillion Begnaud ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2” ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของผู้บริหารในการใช้หลักธรรมาภิบาลและแนวคิดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนองค์กรการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ขณะเดียวกัน บทความ “ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3” และ “การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาชายแดนไทย-มาเลเซีย จังหวัดนราธิวาส” ได้สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการนิเทศภายในและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ชายแดน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและชุมชนอย่างแท้จริง ในด้านการจัดการเรียนรู้ บทความเรื่อง “การพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง ส่วนประกอบและอัตราเร็วของคลื่นกลตามรูปแบบของโพลยา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5” เป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมกับการออกแบบกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความทั้ง 5 ไม่เพียงแต่เป็นผลสะท้อนของการวิจัยเชิงบริหารและการเรียนการสอนเท่านั้น หากยังเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของผู้บริหารและครูในพื้นที่ภาคใต้ ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แม้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดและความท้าทายต่าง ๆ

                 ทางกองบรรณาธิการหวังว่าบทความวิจัยในฉบับนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแนวทางให้กับผู้บริหาร ครู นักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงการศึกษาได้นำไปประยุกต์ใช้และต่อยอด เพื่อสร้างระบบการศึกษาที่เข้มแข็งและยั่งยืนในทุกบริบทของสังคมไทย โดยท่านสามารถสามารถสืบค้นและดาวน์โหลดบทความในวารสารได้ที่เว็บไซด์ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/JPE

เผยแพร่แล้ว: 2025-04-25

ฉบับเต็ม

บทความวิจัย

ดูทุกฉบับ

สามารถสอบถามผ่าน QR code line หรือ 081-189-5944