Home ThaiJO
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร (Publication Ethics)
วารสารทัศนมิติทางการศึกษามีนโยบายและการดำเนินการชัดเจน เพื่อให้การตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการ สามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้องมีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ เช่น Committee on Publication Ethics จึงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี และจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ทั้งนี้ วารสารจึงกำหนดบทความหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) เพื่อให้บุคคลทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าว ได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนผู้อ่าน แวดวงวิชาการและโดยรวม รายละเอียดดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์เป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น และไม่ซ้ำซ้อนหรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
- บทความที่มีชื่อผู้นิพนธ์หลายคน ต้องได้รับการยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน และไม่สามารถเพิ่มชื่อผู้นิพนธ์หลังจากได้รับการประเมินเบื้องต้นจากบรรณาธิการ
- ผู้นิพนธ์ต้องศึกษารายละเอียดคำแนะนำสำหรับผู้เขียน และเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารทัศนมิติทางการศึกษาและการพัฒนาประเทศการกำหนด
- หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text Citation) และทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ (Reference) ตามรูปแบบที่วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
- ผู้นิพนธ์ต้องให้ข้อมูลอันเกิดจากการทำวิจัยด้วยความเป็นจริง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
- กรณีผู้นิพนธ์เป็นนิสิตหรือนักศึกษา บทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา และแสดงชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์ร่วม
- เนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏในบทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้นิพนธ์จะต้องส่ง แก้ไขบทแก้ไขบทความผ่านระบบ Thaijo และส่งตรงตามเวลากำหนด
- ผู้นิพนธ์จะต้องตรวจสอบบทความก่อนขึ้นระบบ Thaijo ทั้งนี้หากมีประเด็นผิดพลาดทางวารสารจะไม่ดำเนินการแก้ไขบทความที่ขึ้นระบบ Thaijo แล้ว
บทบาทของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพบทความเบื้องต้น โดยการคัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ให้ตรงตามสาขาของวารสาร รวมทั้งพิจารณาตามหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย ก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมิน โดยไม่มีอคติในทุกด้าน
- พิจารณาคัดเลือกผู้ประเมินบทความจำนวน 3 ท่านให้ตรงตามสาขาของเนื้อหาในบทความและมาจากหลากหลายสถาบัน
- บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ภายหลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องกับขอบเขตนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
- แจ้งผลการพิจารณา ตัดสิน กรณีคำแนะนำของผู้ประเมินบทความมีความเห็นไม่ตรงกันให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกิน 20% ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมินโดยทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลักเพื่อให้ทำการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบรรณาธิการจะได้นำไปใช้ประกอบในการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้นต่อไป
- รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นิพนธ์ กรณีมีการอุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- ให้คำแนะนำ ประสานระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้ประเมินบทความ กรณีมีข้อขัดแย้งทางวิชาการและข้อคิดเห็น
- สร้างมาตรฐานของวารสารให้มีคุณภาพทุกขั้นตอนจนถึงขั้นตอนการเผยแพร่
บทบาทของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ หรือข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงานที่ทำการประเมินแก่บุคคลอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ประเมินควรประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ โดยประเมินบทความในแง่ของคุณภาพทางวิชาการ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว ความชอบ หรือไม่ชอบ ในการตัดสินบทความ
- หากผู้ประเมินได้รับบทความซึ่งตนเองอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประเมินควรแจ้งแก่บรรณาธิการโดยทันทีและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
- หากผู้ประเมินพบว่า มีเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งในบทความที่อาจมีความซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ผู้ประเมินต้องดำเนินการแจ้งให้บรรณาธิการรับทราบโดยทันที
- ผู้ประเมินควรประเมินบทความภายในระยะเวลาที่วารสารกำหนด
- ผู้ประเมินควรประเมินบทความด้วยความรู้ ความสามารถ เพื่อให้บทความที่ได้รับการประเมินมีคุณภาพทางวิชาการ และผู้นิพนธ์สามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับกลับไปแก้ไข เพื่อให้บทความมีความสมบูรณ์ทางวิชาการ และก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป