ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ , หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต , แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 จำแนกตามเพศ ชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษาแขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 74 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบรายคู่ใช้วิธีการของ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 แตกต่างกันตามเพศ ชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กัญญา บวรโชคชัย และคณะ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารชุมชนวิจัย, 13(3), 94-105.
เกษมะณี การินทร์และคณะ. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏ. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อหลักสูตรเศรษฐศาสตร บัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์, 3(1), 11-20.
ธีรพงศ์ สรภูมิ (มปท.มปป). ความพึงพอใจของนักศึกษาในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยการอาชีพ โพนทอง. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-2-1526528302_5824478255.pdf
นิจวรรณ วีรวัฒโนดม. (2561). ความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 21-35.
ประกายดาว ใคร้มา. (2563). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พรรณพนัช จันหาและคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(1), 125-140.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับอัพเดท) กระทรวงศึกษาธิการ.
มัทนา โทปุรินทร์ และคณะ. (2565). ความพึงพอใจและความต้องการของนิสิตที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563–2570. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). https://www.tsri.or.th/content/31/thailand-sri-plan/
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 (หลักสูตร 4 ปี). (2562). คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อุษา คงทอง และคณะ. (2553). องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้. โรงพิมพ์เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. Prentice-Hall.
Best, J. (1981). Research in Education. Pearson/Allyn and Bacon
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.