การออกแบบและพัฒนาระบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษาสำหรับครู กลุ่มโรงเรียน ราชบุรี สระบุรี และนครปฐม

-

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและการศึกษา

คำสำคัญ:

ระบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน, การสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva, ครูกลุ่มโรงเรียนราชบุรีสระบุรีและนครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานและพัฒนาระบบโดยใช้ ADDIE MODEL และ 2) เพื่อการศึกษาทักษะการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษาสำหรับครู กลุ่มโรงเรียน ราชบุรี สระบุรี และนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากร กลุ่มโรงเรียนราชบุรี สระบุรี และนครปฐม จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาครูโดยการอบรมครูและบุคลากรในการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษา ผู้เข้าอบรมมีคะแนนการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม 2) การพัฒนาทักษะดิจิทัลด้านการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 3) การประเมินผลการอบรมของครูและบุคลากรในการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษา ด้วยรูปแบบของเคิร์กแพททริค ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นด้านผลการเรียนรู้ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านปฏิกิริยาและด้านผลลัพธ์ และด้านพฤติกรรม ตามลำดับ และ 4) การประเมินความพึงพอใจของระบบการฝึกอบรมในการสร้างสื่อการสอนโดยใช้ Canva เพื่อการศึกษา ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจด้านการนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการเรียนรู้ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ  ด้านวิทยากร และด้านความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ

References

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ตักสิลาการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสานส์น.

จีราวุฒ ก๊กใหญ่, ชูศักดิ์ เอกเพชร, และนัฎจรี เจริญสุข. (2565). การพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียสร้างสรรค์ โรงเรียนบ้านควนม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

กิตติเชษฐ์ อักษร. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา. วารสารการวิจัยกาสะลองคํา, 9(2), 1-14.

ณัฐพล ภมรคณเสวิต และนิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2561). รูปแบบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับทักษะในงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 4(3), 66-85.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนสื่อดิจิทัลด้วยการสอนบน Padlet วิชาภาษาไทยเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทย ชั้นประถมกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 35(2), 102-120.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระสังคมศึกษาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสงาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 70-77.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษารายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(2), 1-12.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิง เรื่อง แหล่โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยาโดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse). วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(1), 119-133.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในยุคไทยแลนด์ 4.0 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทัศนศิลป์ วิชาศิลปะพื้นฐาน. วารสารครุทรรศน์, 3(1), 43-53.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การบริหารงานระบบไอซีทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง นิราศภูเขาทอง ผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดตะพงนอก จังหวัดระยอง. วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์, 1(1), 1-16.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทักษะด้านดิจิทัล ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ชุมชน ของโรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 3(1), 1-13.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การจัดการเรียนการสอนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์). วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 13(1), 84-99.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อการเรียนรู้ เรื่องระบบสุริยะบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(2), 159-168.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระสังคมศึกษาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสงาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 6(1), 19-34.

ศศิพิมล ประพินพงศกร, สิริวัจนา แก้วผนึก, และรัตตมา รัตนวงศา. (2561). การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยการใช้เครื่องมือออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัล. PULINET Journal, 5(3), 98-106.

อำนาจ ไชยสงค์, ทัศนา ประสานตรี และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2565). ทักษะดิจิทัลของครูที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 19(1), 163-174.

Bell, B., & Gilbert, J. (1994). Teacher development as professional, personal, and social development. Teaching and Teacher Education, 10, 483-497.

Bybee, R. W. (2014). The BSCS 5E instructional model: Personal reflections and contemporary implications. Science and Children, 51(8), p.10-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-19