ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • รุสลัน ดาโอะ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
  • นิตยา เรืองแป้น มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, วิสัยทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) เพื่อประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่หน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนราธิวาส กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีอิสระ และทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณารายด้าน พบว่าด้านความสามารถในการบริหารและด้านการมีทักษะการสื่อสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 5 ปี และมากกว่า 10 ปี มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ในด้านความสามารถในการบริหารและด้านการมีทักษะการสื่อสาร และ 3) ข้อเสนอแนะ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส ผู้บริหารสถานศึกษา ควรกำหนดวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับนโยบาย และบริบทของพื้นที่ ให้ชัดเจน และควรมีการปรับปรุง แก้ไขวิสัยทัศน์ในทุก ๆ 5 ปี ควรพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ในการสื่อสารอาจต้องคำนึงถึงถ้อยคำ หรือวาจาของตนเองให้มากที่สุด ควรใช้ความสามารถในการบริหารงาน มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ชัดเจน มอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถของแต่ละคน ควรเรียนรู้หลักการบริหารในยุคใหม่อยู่เสมอ และสามารถพาบุคคลากรทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้ด้วยความเต็มใจ

References

กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัด กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กฤติยา ใจหลัก ฟริตช์เจอรัลด์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

กศน.จังหวัดนราธิวาส, สำนักงาน (2565). รายงานการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565. นราธิวาส : สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด.

จักรพันธ์ ไชยยิ่งกฤษศิริ. (2553). ภาวะผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทองใบ สุดชารี.(2558). ภาวะผู้นำ : กลไกขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุบลราชธานี คณะบริหารธุรกิจลารจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พัชรี จิรจีรังชัย. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู. สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

วราวุธ ศักดิ์เทวิน. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด กศน. จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

อัจฉรา โพธิ์อัน. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-19