ความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 316 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดของสถานศึกษา แล้วสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากไม่คืนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม ทุกข้ออยู่ในช่วง 0.67-1.00 และผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่นพบว่า แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพที่เป็นจริงของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่คาดหวัง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความต้องการจำเป็นทุกด้าน เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นของ PNImodified ได้แก่ ด้านการสะท้อนผลการปฏิบัติงานเพื่อนพัฒนาวิชาชีพ (PNIModified = 0.66) ด้านการเรียนรู้ร่วมกันและร่วมมือร่วมพลัง (PNIModified = 0.59) ด้านภาวะผู้นำร่วมกัน (PNIModified = 0.40) ด้านโครงสร้างสนับสนุน (PNIModified = 0.38) และ ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน (PNIModified = 0.37)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ฉัตรชนก แสงขาว. (2553). ผลการเรียนรู้แบบTribe ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยวงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม และ กาญจน์ เรืองมนตรี (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 184-193.
พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2564). สมรรถนะครู 4 ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 22(1), 180-195.
พิชิต ขำดี และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรียุธยา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิภาภรณ์ อภิปริญญา (2561). สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2561). กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 1906 – 3431.
รัตพีรพัฒน์ ทะมานนท์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา. ปริญญานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (2565). ทำเนียบบุคลากร. สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : สพม.ยะลา. ปัตตานี นราธิวาส.
สิริภพ บุญยืน. (2560). แนวทางแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหาการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kenoyer, F.E. (2012). Case study of Professional Learning Community Characteristics in an Egyptian Private School. Doctor’s Dissertation. College of Education, Columbia International University.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5 th ed. ). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.