ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านกลาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำ, การยอมรับของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ข้าราชการครู บุคลากรสายสนับสนุนในเครือข่ายของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคคลในชุมชนรอบโรงเรียนบ้านกลาง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซิ่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับฉลากไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามตอนที่ 2 ได้เท่ากับ .97 และ ตอนที่ 3 ได้เท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม วิเคราะห์โดยถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ค่าที่มีน้ำหนักสูงสุดด้านคุณลักษณะ (.5701) รองลงมาคือด้านสถานการณ์ (.4726) ด้านวัฒนธรรมองค์การ (.3221) และด้านบรรยากาศ (.2506) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยปัจจัยที่มีค่าที่มีน้ำหนักสูงสุดคือ ด้านคุณลักษณะ(.5701) รองลงมาคือ ด้านสถานการณ์ (.4726) วัฒนธรรมองค์การ (.3221) และด้านบรรยากาศ (.2506) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายเท่ากับ .96 สามารถทำนาย ได้ร้อยละ 96
References
ชนธัญ ติ๊บเมืองมา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร การศึกษา) มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธนิกา กรีธาพล. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา.(2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.
นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นพพล ศุภวิทยาเจริญกุลม. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ปฏิมา ถนิมกาญจน และเพ็ญพร ปุกหุต.(2565). องค์การส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานผ่านคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมสุรนารี.วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. 3(1),83
ผุย รตฺนโชโต. (2558). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยนครพนม.
เพ็ญศิริ สมเรือน (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภานุวัฒน์ บุญธัญกิจ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2560). คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ.สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อโนชา สิงห์สนั่น. (2558). คุณลักษณะทางชีวสังคมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Alexander, S. and Ruderman, M. (1987) The Role of Procedural and Distributive Justice in Organizational Behavior. Social Justice Research.
Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(10)
DuBrin, A. J. (2010). The principles of leadership (6th ed.). Canada: South-Western Cengage-Learning.
Glanz, J. (2006). What every principal should know about ethical and spiritual leadership. Thousand Oaks, California: Corwin.
House, R. J., & Mitchell, T. R. (1974). Path-goal theory of leadership. Journal of Contemporary.
Kocabas,I. & Karakose,T.(2009) Ethics in school administration. African Journal of Bassiness Management, 3(4), 126-130.
Trevio, L.K., Hartman, L.P., & Brown, M.2000. Moral person and moral manager: How executives develop are potation for ethical leadership. California Management Review.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.