จิตวิทยาเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคโลกพลิกผัน

ผู้แต่ง

  • พุมพนิต คงแสง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ปริศรา อิสโร โรงเรียนบ้านท่าโพธิ์

คำสำคัญ:

จิตวิทยา, การบริหารสถานศึกษา, ยุคโลกพลิกผัน

บทคัดย่อ

ผู้บริหารสถานศึกษาในสภาวะการณ์โลกที่มีความผันผวนที่เรียกว่า VUCA World ซึ่งประกอบด้วย ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และความคลุมเครือ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวการณ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้จิตวิทยาในการเข้าใจตนเอง เข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่าง ๆ ของโลกยุคพลิกผัน มีทักษะหรือศิลปะการใช้ชีวิต ทักษะในการเรียนรู้ ปรับตัวและสร้างทักษะการทำงานใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพันธกิจและความรับผิดชอบขององค์กร พร้อมตั้งรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการวางแผนสำหรับการบริหารสถานศึกษาใน “ยุคโลกพลิกผัน” ซึ่งอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้วางแผน หรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ที่ถึงพร้อมทั้งศาสตร์ของการบริหาร และศาสตร์ของการบำรุงจิตใจ มีภูมิคุ้มกันทางกายและใจที่เพียงพอจะรับมือกับ “ยุคโลกพลิกผัน” โดยบทความวิชาการนี้แสดงถึงแนวคิดเกี่ยวกับยุคโลกพลิกผัน และแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อการบริหารสถานศึกษาในยุคโลกพลิกผัน

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2563). ยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี กับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาล ปัญหาข้อขัดแย้ง. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563. จากhttp://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8520st/

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ เอื้ออภิธร. (2560). ทักษะการเรียนรู้ใหม่เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560. จากhttp://www.thestandard.co/learning-for-change

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล.

ปัญจมาภรณ์ พุทธพรพิสุทธิ์. (2562). องค์ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พสุ เดชะรินทร์. (2560). ผู้บริหารในยุค VUCA ต้องทำอะไร. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560. จากhttp://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/64285

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วนิดาการพิมพ์. พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

มาฆวัน กาบินพงษ์. (2552). สิทธิประโยชน์และวิธีปฏิบัติทางภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสรรพากรพื้นที่ฉะเชิงเทรา.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2560. จากhttp://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world

สุภศักดิ์ กฤษณามระ. (2563). ผู้นำองค์กรควรรับมือกับวิกฤตโควิด-19 อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564. จากhttp://www2.deloitte.com/th/en/pages

สถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). การบริหารองค์กรของผู้นำให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560. จากhttp://www.ftpi.or.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Jane S. Halonen and J. W. Santrock. (1996). Psychology: Contexts of behavior (Madison, WI, US: Brown & Benchmark Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-10