ผลของการให้การปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์ต่อการรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • ฟารีดา สุขพันธ์เยี่ยม หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นุสฟารัส ตูแกบือซี หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรีนาภา ชูรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกษรา หัสมา ฝ่ายงานแนะแนว โรงเรียนสตูลวิทยา

คำสำคัญ:

การให้การปรึกษาอาชีพ, การให้การปรึกษาออนไลน์, การรับรู้ความสามารถ, การตัดสินใจเลือกอาชีพ, การแนะแนวอาชีพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพภายหลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) การให้การปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิต Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์ 1) การรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพระยะหลังการทดลองทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) การรับรู้ความสามารถด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนสูงขึ้นจากก่อนการให้การปรึกษาแนะแนวอาชีพแบบกลุ่มออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมแนะแนวแห่ง ประเทศไทย. (2559). การให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ. (2558). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออก. วิทยานิพนธ์ปริญญา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี และ บัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68.

พันธุ์ทิพย์ พัชรพงศ์พรรณ. (2556). การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพบูลย์ บุญล้อม และ วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2555). การพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 47-60.

วรางคณา โสมะนันทน์, คาลอส บุญุภา, และพลอยไพลิน กมลนาวิน. (2564). การให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ : มิติใหม่ของการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์, 15(1), 247-260.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สามลดา.

Atli, A. (2016). The Effects of Trait-factor Theory Based Career Counseling Sessions on the Levels of Career Maturity and Indecision of High School Students. Universal Journal of Educational Research, 4(8), 1837–1847. https://doi.org/10.13189/ujer.2016.040813.

American Psychological Association. (2013). Guidelines for the Practice of Telepsychology. American Psychologist. 68(9), 791–800.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company Corey, G. (2012). Student manual for theory and practice of group counseling: Brooks/Cole, Cengage Learning.

Creager, Marie F. Shoffner. and Deacon, Mary M. (2012) "Trait and Factor, Developmental, Learning, and Cognitive Theories" in Career Counseling: Foundation, Perspective, and Applications. (2nd edition). Chapter 2. New York: Routledge.

Ezhumalai, S., Muralidhar, D., Dhanasekarapandian, R., and Nikketha, B. S. (2018). Group interventions. Indian J. Psychiatry, 60(Suppl. 4), S514. doi: 10.4103/ psychiatry.Indian JPsychiatry_42_18.

Kabir, S. M. S. (2018). Counseling Approaches. ResearchGate, (March 2017).

Rowell, P. C., Mobley, A. K., Giordano, A. L., & Kemer, G. (2014). Examination of group counseling model of career decision-making for college students. Journal of College Counseling, 17(1), 163-174. doi: 10.1002/j.2161-1882.2014.00055.x

Schwarzer, R., & Jerusalem, M. (1995). Generalized self-efficacy scale. Measures in health psychology: A user’s portfolio. Causal and control beliefs, 1(1), 35-37.

Trotzer, J. P. (1977). The counselor and the group: Integration theory, training and practice. Monterey, CA: Brook Cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-27