ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, ยุควิถีชีวิตใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิภาrในการปฏิบัติงานของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู และ 4) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 352 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่และแบบสอบถามประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่น .921 และ .891 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน วิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีในยุควิถีชีวิตใหม่ ส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี สนับสนุนการนำสื่อเทคโนโลยีมาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล ระดมทุนจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีภายในสถานศึกษา และประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยี
References
กนกวรรณ โพธิ์ทอง และคณะ. (2559). ผลของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนและบรรยากาศโรงเรียน โดยมีการรู้เทคโนโลยีและการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนของครูเป็นสื่อกลาง ต่อประสิทธิผลครูในโรงเรียนดีศรีตำบล ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(3). 255-269.
เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้าง องค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยา บัวหอม. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของบุคลากรโรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา. รายงานการวิจัยโรงเรียนน้ำเกลี้ยงวิทยา อําเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ สํานักการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28.สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
ชลนที พั้วสี. (2564). ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(2). 56-64.
ธนัชนันท์ ทูลคำเตย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วารสารศึกษาศาสตรปริทัศน์, 33(2). 71-78
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิศาชล บำรุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ. 4(3), 783-795.
รสสุคนธ์ ท้วมอุปถัมป์. (2562). แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำทางเทคโนโลยีของครูโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, วิทยาลัยครูสุริยเทพ.
สมพิศ สุขแสน. (2556). เทคนิคการทำงานให้มีประสิทธิภาพ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566 จาก
https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/.
สิรินภา ทาระนัด. (2561). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1). 31-41.
สุภัททรา สังขวร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุรีรัตน์ คำชมภู. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 23. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40). 33-42.
สุเหด หมัดอะดัม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ. 20(1), 1,905-1,915.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (2565). ข้อมูลบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. งานทะเบียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่.
อุษคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(2). 59-70.
Castle. (2009). Principal Technology Leadership Assessment. Retrieved Jun, 2014, from http://schooltechleadership.org/wordpress/wpcontent/uploads/2010/02/ptla_info_packet.pdf.
International Society for Technology in Education. ISTE National Educational Technology Standards (NETS) and Performance Indicators for Administrators. Accessed October 1, 2019. Available from https://id.iste.org/docs/pdfs/nets-for-administrators-2002_en.pdf?sfvrsn=2.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed) New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารทัศนมิติทางการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.