การพัฒนาครูสู่ความสำเร็จในการทำวิจัยของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ ไกรนรา Thairathwittaya10 (Banmai) School Narathiwat Primary Educational Service Area Office 1

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู , ความสำเร็จในการวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทำวิจัยของครู ศึกษาปัจจัยที่นำสู่ความสำเร็จในการวิจัยของครู และเพื่อหาแนวทางพัฒนาครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสสู่ความสำเร็จในการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เริ่มต้นด้วยการศึกษาสภาพปัญหาในการทำวิจัยของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส จำนวน  354 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อและทั้งฉบับ เท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของครูต่อสภาพปัญหาในการทำวิจัยของครูในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.02) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ ความเพียงพอของทักษะต่อการทำวิจัยด้วยตนเอง  ความเพียงพอของความรู้ต่อการทำวิจัยด้วยตนเอง  และแรงจูงใจต่อการทำวิจัย ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (M =2.67, M =2.81, M =3.09 ตามลำดับ) ลำดับต่อมา เป็นการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 7 คน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวิจัยของครูและหาแนวทางพัฒนาครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส สู่ความสำเร็จในการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อ และทั้งฉบับ เท่ากับ 1.00  ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่นำสู่ความสำเร็จในการวิจัยของครูประกอบด้วย ทักษะการวิจัย ความรู้ด้านการวิจัย แรงจูงใจ การสนับสนุนของหน่วยงานด้านการวิจัย และเจตคติต่อการวิจัย สำหรับแนวทางพัฒนาครูสู่ความสำเร็จในการทำวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอให้จัดอบรมความรู้และทักษะการวิจัย สร้างคู่มือการทำวิจัย สนับสนุนพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาวิจัยและสร้างเครือข่ายนักวิจัยระดับเขตพื้นที่

References

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 109 ง, หน้า 2 – 3.

จุฑามาศ อิศระภิญโญ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์ และระภีพรรณ ร้อยพิลา. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7 (28), 75 – 86.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2563). การทำงานวิจัยที่เป็นเลิศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ : คุณลักษณะ ความหมายและปัจจัยความสำเร็จ. วารสารพัฒนาสังคม, 22 (1), 100 – 122.

ประเวศ วะสี. (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย, (น. 29 – 32) กรุงเทพมหานคร : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

ปราชญา รัตพลที, พูนชัย ยาวิราช และ ประเวศ เวชชะ. (2558). แนวทางการส่งเสริมครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนบ้านสันติสุข อำเภอแม่จัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย, 8 (18), 195 – 202.

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. (2546, 11 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 52 ก, หน้า 17.

พินยา ปราณี, ธวัชชัย ไพใหล, และรัชฏาพร พิมพิชัย. (2558). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านนาคอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3 (12), 142 – 150.

ละมัย แสงคงเรือง (2556). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อําเภอปากพะยูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

วลัยรัตน์ สุวรรณชัยรบ, ธวัชชัย ไพใหล และ สุรัตน์ ดวงชาทม. (2558). การพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านอูนดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สกลนคร เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นํา, 3 (11), 154–160.

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2564). มุมมองใหม่เรียนรู้วิจัยอย่างมีความสุข, วารสารวิจัยวิชาการ. 4 (1), 223 – 232.

ศิริพร เทพราชา. (2557). แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตกระสัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ในสารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. (2563). รายงานผลการบริหารมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ประจำปีงบประมาณ 2563. กลุ่มนิเทศและติดตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. (2563). รายงานผลการบริหารมาตรฐานการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ประจำปีงบประมาณ 2563. กลุ่มนิเทศและติดตาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานราธิวาส เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (2563). รายงานผลการบริหารมาตรฐานการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ประจำปีงบประมาณ 2563. กลุ่มนิเทศและติดตาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานราธิวาส เขต 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิคชั่น.

Clarke, D. J. & Hollingsworth, H. (2002). Elaborating a model of teacher professional growth. Teaching and Teacher Education. 18(8), 947 – 967.

Fisher, J. D., & Fisher, W. A. (1992). AIDS-risk behavior Psychological Bulletin, 111 (3), pp. 455-474. Retrieved November 12, 2021, from :http://dx.doi.org/ 10.1037/0033-2909.111.3.455

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B.B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-11