การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • SRENG CHORK นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (แขนงจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • อริยา คูหา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้ , ผู้เรียน , วิทยาลัยอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานี และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการเรียนรู้ จำแนกตาม เพศ และระดับการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานี จำนวน 381 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คน จากการสุ่มด้วยสูตร Krejcie & Morgan (1970) ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 48 ข้อที่มีค่าความเชื่อมั่น .873 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดปัตตานีมีรูปแบบการเรียนรู้โดดเด่นแบบอเนกนัยมากที่สุด รองลงมาเป็นแบบปรับปรุง แบบคิดเอกนัย และน้อยที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบดูดซึม และผู้เรียนที่มี เพศ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีรูปแบบการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน 

เพศ และระดับการศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดปัตตานี

ดังนั้นข้อมูลนี้จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน และหน่วยพัฒนานักเรียน นักศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาและการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

References

จุฑารัตน์ ช่างทอง. (2559). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเอกสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(3), 165–176.

ทรงทรรศน์ จินาพงศ์ สุริยา จันทนกูล และอานนท์ คงสุนทรกิจกุล. (2561). ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(2), 23-33.

เนตรนภา เอี่ยมอนุพงษ์ ดิเรก ธีระภูธร พิชัย ทองดีเลิศ และทํารงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเรื่องความรู้เกี่ยวกับอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 140–152.

บุญเตือน วัฒนกุล ศรีสุดา งามขำ และ กัลยา งามวงษ์วาน. (2559). ความแตกต่างของรูปแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 54–61.

วิชาญ เลิศลพ. (2554). แบบการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร. http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/528/1/095-54.pdf

วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี. (2563). แผนการจัดการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี (2564-2568). ปัตตานี:ผู้แต่ง

ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2557). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(1), 73–84.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และยุวัลดา ชูรักษ์. (2556). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย, หาดใหญ่, ประเทศไทย.

Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experiment as a source of learning and development. Retrieved from www.researchgate.net

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2016). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ วันที่ 10 เดือนเมษายน ปี 2023 จาก https://tdri.or.th/2016/08/vocational-education-reform/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-11