หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • เกศสุดา สิทธิสันติกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • บัญจรัตน์ โจลานันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • วาสนา จักร์แก้ว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ลำปาง
  • มนันยา นันทสาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มหาสารคาม

คำสำคัญ:

เศรษฐศาสตร์, การจัดการ, ทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตและการบริโภคในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องได้รับการควบคุมป้องกันและแก้ไขเพื่อความมีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน บทความนี้นำเสนอหลักการทางเศรษฐศาสตร์ในฐานะเครื่องมือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลำดับแรก คือ หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายซึ่งเป็นการผนวกต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในค่าสินค้าและบริการผ่านมาตรการต่าง ๆ โดยใช้กฎหมายบังคับควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ การเก็บค่าบริการบำบัด ค่าใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษ การซื้อขายใบอนุญาตปล่อยมลพิษ การเก็บภาษีทรัพย์สิน การเก็บภาษีผลิตภัณฑ์ การกำหนดอัตราภาษี ระบบมัดจำยืมคืน การให้เงินอุดหนุนการให้สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม การลดหย่อนภาษี การซื้อพันธบัตรปฏิบัติงาน และการจ่ายค่าปรับ ถัดมาเป็นหลักการจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศซึ่งเป็นการสร้างข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายบริการระบบนิเวศอย่างชัดเจนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากผู้ใช้ประโยชน์ในระบบนิเวศ การดำเนินงานตามหลักการนี้ มีความชัดเจนในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยยังอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการนำร่อง สุดท้ายเป็นหลักประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจซึ่งมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่ตระหนักถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ หลักการนี้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจกว่า 20 แห่งด้านพลังงาน การขนส่ง สาธารณูปการ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม รวมทั้งกิจกรรมเศรษฐกิจในภาคธุรกิจและผู้ประกอบการในชุมชน

References

กฤศ ฉายแสงเดือน เศรษฐบุตร อิทธิบุตร และวิเทศ ศรีเนตร. (2561). แนวทางมาตรการจูงใจเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนในไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4, 86-102.

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกในป่าเอเชีย ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การดำเนินการนำร่อง การจ่ายค่าตอบแทนบริการระบบนิเวศ. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.leafasia.org/sites/default/files/resources/PESThailand-Progress-Report_12-09-2014_final.pdf

ธันยากรณ์ ศรเกษตรินทร์. (2562). มาตรการการจ่ายค่าตอบแทนการบริหารจัดการระบบนิเวศป่าไม้. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 329-344.

นฤมล เสกธีระ. (2556). หลักการกำหนดให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1), 175-199.

ประชิด ทิณบุตร. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กจังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 44(23), 143-158.

ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ. 2560. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอาหาร กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางชัน ลาดกระบัง สมุทรสาคร บางพลี และบางปู. Veridian E-Journal, 10(3), 716-735.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และกอบกุล รายะนาคร. (2552). เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

วราภรณ์ ปัญญาวดี ชพิกา สังชพิทักษ์ วาสนา สุขกุล จิราภรณ์ ก้อนสุรินทร์ นุชจรี ปิมปาอุด และนพดล สนวิทย์. (2555). ความท้าทายและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้มาตรการการกำหนดค่าตอบแทนเพื่อบริการด้านสิ่งแวดล้อม: กรณีเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(2), 89-107.

วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา ชีระวิทย์ รัตนพันธ์ และธันวดี สุขสาโรจน์. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตเส้นยางยืดด้วยเทคโนโลยีสะอาด. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 13(2), 49-63

สวทช. และ สคร. (2563). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย. สืบค้น 15 ธันวาคม 2564, จาก http://www.sepo.go.th/tinymce/plugins/filemanager/thumbs//eco-ee-11-2-63.pdf

สุธีรา สุนทรารักษ์. (2564). ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2), 59-66.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (มปป). การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ. สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=2699

สุมิตตรา เจิมพันธ์. (2557). การจัดการเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียตามหลัก “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle: PPP) ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 10(1),105-127.

โสมสกาว เพชรานนท์. (2553). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สวทช. และ สคร. (2563). คู่มือการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจไทย (ฉบับผู้ปฏิบัติ). สืบค้น 2 กันยายน 2564, จาก http://www.sepo.go.th/tinymce/plugins/filemanager/thumbs//eco-ee-11-2-63.pdf

Lehni, M. (2000). Eco-efficiency: creating more value with less impact. Conches-Geneva, Switzerland: WBCSD.

Luppi, B. , Parisi, F. , & Rajagopalan, S. (2012). The rise and fall of the polluter-pays principle in developing countries. International Review of Law and economics, 32(1), 135-144.

Wunder, S. (2005). Payments for environmental services: some nuts and bolts. Indonesia: Center for International Forestry Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

How to Cite

สิทธิสันติกุล เ., โจลานันท์ บ., จักร์แก้ว ว., & นันทสาร ม. (2022). หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 60–68. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/ECONMAEJO_JOURNAL/article/view/2174