การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันดิบและทองคำ ในสภาวะตลาดขาขึ้น-ลง

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย มุกดาสนิท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สมบัติ สิงฆราช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พชรพร อากรสกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ธนพล รัตนสมัครการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรนิกา ปาละสอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์, น้ำมันดิบ, อัตราผลตอบแทนทองคำ, ตลาดขาขึ้น

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนของทองคำและน้ำมันดิบ ทั้งในสภาวะตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง เพื่อทำการเปรียบเทียบแตกต่างของค่าความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนของทองคำและน้ำมันดิบในสภาวะที่แตกต่างกัน โดยในการศึกษาครั้งนี้จะประยุกต์ใช้แบบจำลอง Markov Switching Kink model ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ราคาน้ำมันดิบ (Crude Oil) และราคาทองคำแท่งที่ซื้อขายในตลาดโลก ตั้งแต่ 01/01/2010 - 28/02/2022 ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอัตราผลตอบแทนของน้ำมันดิบในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะตลาดขาขึ้น โดยความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนของน้ำมันดิบและทองคำในสภาวะตลาดขาขึ้นจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าทองคำจะมีอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ก็ตาม ในขณะที่สภาวะตลาดขาลงความความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนของทองคำและน้ำมันดิบจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามเมื่ออัตราผลตอบแทนของทองคำมีค่าน้อยกว่า 0.0051 และจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันเมื่ออัตราผลตอบแทนของทองคำมีค่ามากกว่า 0.0051

References

ราคาของทองคำและน้ำมันดิบในช่วง 10 ปี (ปี 01/01/2010 – 28/02/2022). 2022. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก www.th.Investing.com.

Chauvet,M.& , Potter,S. (2000). Coincident and leading indicators of the stock market. Journal of Empirical Finance 7(1). 87–111.

Card, D., Lee, D., Pei, Z., & Weber, A. (2012). Nonlinear policy rules and the identification and estimation of causal effects in a generalized regression kink design (No. w18564). National Bureau of Economic Research.

Dickey, D. A., & Fuller, W. A. (1979). Distribution of the estimators for autoregressive time series with a unit root. Journal of the American statistical association, 74(366a), 427-431.

Dufrénot, G., & Keddad, B. (2014). Business cycles synchronization in East Asia: A Markov-switching approach. Economic Modelling, 42, 186-197.

Mork, K. A. (1989). Oil and the macroeconomy when prices go up and down: an extension of Hamilton's results. Journal of political Economy, 97(3), 740-744.

Hansen, B. E. (2017). Regression kink with an unknown threshold. Journal of Business & Economic Statistics, 35(2), 228-240.

Pastpipatkul P., Sriboonchitta S. and Yamaka W. (2016). A Bayesian Change Point with Regime Switching Model. Thai Journal of Mathematics. 83-99.

Reinhart, C.M., and Rogoff, K.S. (2010), “Growth in a Time of Debt,” American Economic Review: Papers and Proceedings, 100, 573–578.

Switzer, L. N., & Picard, A. (2016). Stock market liquidity and economic cycles: A non-linear approach. Economic Modelling, 57, 106-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

How to Cite

มุกดาสนิท ศ., สิงฆราช . ส., อากรสกุล พ., รัตนสมัครการ ธ., & ปาละสอน ก. (2022). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของราคาน้ำมันดิบและทองคำ ในสภาวะตลาดขาขึ้น-ลง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 26–39. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/ECONMAEJO_JOURNAL/article/view/2171