ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้า สถาบันการเงินในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, ธนาคารรัฐวิสาหกิจ, ธนาคารพาณิชย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าสถาบันการเงินในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้บริการธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด โดยลักษณะที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติบริการสินเชื่อมากที่สุด คือบ้านเดี่ยว ส่วนใหญ่มีขนาดที่ดิน 50 - 81 ตารางวา ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ราคา 2 - 3 ล้านบาท ระยะเวลาในการผ่อนชำระ 16 - 20 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกวิธีการชำระสินเชื่อโดยการหักผ่านบัญชี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลจากพนักงานของสถาบันการเงินมากที่สุด
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย พบว่าด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดในเรื่องจำนวนเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ และระยะในการผ่อนชำระ ด้านราคา พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับมากในเรื่องค่าธรรมเนียมประเมินหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย และค่าประกันอัคคีภัย ด้านสถานที่ให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดในเรื่องความสะอาดของสถานที่ให้บริการ สถานที่นั่งเพียงพอต่อการให้บริการ และเดินทางสะดวก ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดในเรื่องมีช่องทางหลากหลายในการชำระสินเชื่อและโปรโมชั่น ด้านการให้บริการของพนักงานผู้ให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องพนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ สุภาพ อ่อนน้อม การให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาคพนักงานมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และพนักงานสามารถให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาได้
ผลการศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านการให้บริการของพนักงานผู้ให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยด้านผลิตภัณฑ์พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ในเรื่องจำนวนเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ และระยะในการผ่อนชำระด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในเรื่องมีช่องทางหลากหลายในการชำระสินเชื่อ และโปรโมชั่น ด้านการให้บริการของพนักงานผู้ให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องพนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ สุภาพ อ่อนน้อม การให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาคพนักงานมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และพนักงานสามารถให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาได้
References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยและดัชนีราคาที่ดิน. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563 จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=680&language=th
ปิยภา แตงเดช. (2557). ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561. จาก https://aya55ake.wordpress.com/2014/11/19/37//
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2560). สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561 จาก https://baania.com/th/article/สถานการณ์และแนวโน้มตลาดอสังหาฯ ในเชียงใหม่ปี 2560/
ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย. (2561). สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจำแนกตามวัตถุประสงค์การกู้. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561 จาก http://prop2morrow.com/2018/02/14/
Hirch. (1973). ความหมายและองค์ประกอบของลักษณะที่อยู่อาศัย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561 จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=4&bookID=258&read=true&count=true
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.