การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าธนาคาร: กรณีศึกษาลูกค้าข้าราชการครู และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของธนาคารกรุงไทย สาขาฮอด
คำสำคัญ:
การผิดนัดชำระหนี้, ธนาคารพาณิชย์, การให้สินเชื่อ, แบบจำลองโพรบิต, ข้าราชการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าธนาคาร โดยใช้แบบจำลองโพรบิท ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบไปด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ เพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยของธนาคารการบริการชำระหนี้เงินกู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ และหลักประกันเงินกู้ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ลูกค้าธนาคารมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านรายจ่ายต่อเดือน และวัตถุประสงค์ในการกู้ ซึ่งพบว่าโดยส่วนใหญ่การผิดนัดชำระหนี้มักเกิดขึ้นกับการกู้เพื่อการอุปโภค - บริโภค ดังนั้นผลการศึกษาในครั้งนี้จึงได้สะท้อนให้เห็นว่าในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหม่ ธนาคารควรพิจารณาและให้ความสำคัญกับ เพศ รายได้ต่อเดือน อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร บริการชำระหนี้เงินกู้ หลักประกันเงินกู้ ของลูกค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านรายจ่ายต่อเดือนและวัตถุประสงค์ในการกู้ของลูกค้าอย่างละเอียดก่อนการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าธนาคาร
References
กาญจนา ไฝ่ศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ค้างชำระสินเชื่อสวัสดิการของธนาคารออมสิน สาขา เชียงแสน. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จรูญรัตน์ ตระการศิรินนท์. (2540). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตะวัน ทิพย์พรหมมา. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้คงค้างชำระบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาคารกรุงไทย. (2563). รายงานยอดรวมสินเชื่อสวัสดิการ ธนาคารกรุงไทย สาขาฮอด. เชียงใหม่: ธนาคารกรุงไทย.
นภดล อังคณาวิศัลย์ และ บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนเงินคงค้างชำระหนี้ เงินกู้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าที่ขอประนอมหนี้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14, 14(14), 1699-1710.
รายงานผลการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย. (2563). รายงานผลการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย สาขาฮอด. เชียงใหม่: ธนาคารกรุงไทย.
วรณัฏฐกานต์ นุชพุ่ม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการชำระบัตรเครดิต ธนาคารพาณิชไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศรีวาลัย นิราช. (2551). ปัจจัยการค้างชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าธนาคารของรัฐในจังหวัดลำพูน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพร ธรรมรัชสุนทร. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกค้าสินเชื่อบัวหลวงศูนย์สินเชื่ออุปโภคบริโภค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เขตนครหลวง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจภาวการณ์ครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2555. สืบค้น 10 กันยายน 2563, จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Page/สำรวจ/ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/ภาระการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ.aspx
Duesenberry, Jame S. (1952). Income Saving and the Theory of Conusumer Behavior. Cambridge: Harward University Press.
Friedman, Milton. (1957). A Theory of the Consumption Function. Princeton, N.J: Princeton University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.