การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี และ 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุดรธานีที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,172 คน และครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 39 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม แบบวัดเจตคติต่อการเรียน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามบรรยากาศการเรียนรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู และแบบบันทึกผลการเรียนเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (MSEM)
ผลการวิจัย พบว่า
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานีมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และด้านการสื่อสาร
- โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุดรธานี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก = 570.374, df = 145, p-value = 0.0000, CFI = 0.962, TLI = 0.935, RMSEA = 0.050, SRMRW = 0.007, SRMRB = 0.403 และ /df = 3.934 ซึ่งตัวแปรทำนายทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนในระดับนักเรียนได้ร้อยละ 77.90 และระดับห้องเรียนได้ร้อยละ 91.50
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
ฉัตรติยา ลังการัตน์. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนกฤตา แจ่มด้วง. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรตามนโยบายประเทศไทย 4.0. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประทีป คงเจริญ. (2564). “ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(3).
ประภาพร โคบายาชิ, อนันต์ แก้วตาติ๊บ และ กิตติศักดิ์ นิวรัตน์. (2563). “ปัจจัยเชิงสาเหตุการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาภาคเหนือ” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 13(1), 67-81.
มัสนี คงแก้ว. (2563). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Covington, M. V. (2000). Goal theory, motivation, and school achievement: An integrative review. Annual Review of Psychology, 51, 171-200.
Geiser, C. (2013). Data analysis with Mplus. Guilford Press.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). NJ: Pearson Education, Inc.
Ingrid Veira. (2010). Roles of Teachers in the 21st Century. International Journal of Technology and Inclusive Education, 4(2), 645-660.
Kay, K. (2012). Seven steps to becoming a 21st century school or district. edutopia. https://www.edutopia.org/blog/21st-century-leadership-overview-ken-kay
Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Kuhn, D., & Moore, W. (2015). Argumentation as core curriculum. Learning: Research and Practice, 1(1), 66–78. https://doi.org/10.1080/23735082.2015.994254
Shaw, M.E. And Wright, J.N. (1967). Scale for the Measurement of Attitudes. New York: McGraw-Hill.
Wang, S. (2014). Collaboration Factors and Quality of Learning Experience on Interactive Mobile Assisted Social E-Learning. Turkish Online Journal of Educational Technology, 13(2), 24-34.