https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/issue/feed วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2025-04-27T00:07:00+07:00 Sunan Siphai rdijournal@cpru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ รับพิจารณาตีพิมพ์บทความวิจัย (Research article) บทความวิชาการ (Academic article) และ บทความปริทัศน์ (Review article) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บทความทุกเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารจะได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการ กองบรรณาธิการและผ่านการ ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) แบบ Double-blinded peer review โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันที่ตรงสาขาหรือเกี่ยวข้องกับสาขา 3 ท่าน</p> <p>ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1: มกราคม - เมษายน<br />ฉบับที่ 2: พฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3: กันยายน - ธันวาคม</p> <div><strong>ขอบเขตงาน (Aims &amp; Scope) :</strong></div> <div>ว<strong>ารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นวารสารวิชาการที่เผยแพร่เกี่ยวกับบทความวิชาการ บทความวิจัย ที่ครอบคลุมสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ โดยครอบคลุมสาขาวิชา </strong><span style="font-size: 0.875rem;">ดังต่อไปนี้</span></div> <p> - สาขาการศึกษา</p> <p> - สาขาภาษาศาสตร์</p> <p> - สาขาบริหารธุรกิจ และการจัดการ</p> <p> - สาขาเศรษฐศาสตร์</p> <p> - สาขาสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p> - สาขารัฐศาสตร์</p> <p> - สาขารัฐประศาสนศาสตร์</p> <p> - สาขานิติศาสตร์</p> <p> - สาขาจิตวิทยา</p> <p> </p> https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1963 ผลของการสอนแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและการเล่าเรื่อง ที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2025-04-08T12:11:05+07:00 อารีรัตน์ ผดุงชนม์ areerat.bonus@gmail.com ธนชาติ หล่อนกลาง thanachart.lornklang@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและการ<br />เล่าเรื่องที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและ<br />การเล่าเรื่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 คน จากโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ทดสอบการแจกแจงแบบปกติของคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ K-S test จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทีแบบไม่อิสระ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการสอนแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและการเล่าเรื่องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและการเล่าเรื่อง แสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาอังกฤษแบบสมิทธิภาพด้วยการอ่านและการเล่าเรื่องสามารถพัฒนาการความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1396 พฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2024-08-27T16:16:13+07:00 พิสิฐ พินิจสกุล pisit_pinitsakul@hotmail.com ทแกล้ว แกล้วกล้า Taklaew@reru.ac.th ฉลาด บทมูล chaladbotmun@gmail.com ธวัชชัย เหล่าสงคราม lskthawatchai@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษกับทักษะการฟังภาษาอังกฤษ และ 4) ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัด อำนาจเจริญ จำนวน 110 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบทักษะการฟังภาษาอังกฤษ&nbsp; และแบบสอบถามพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ มีพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.90, S.D. = 0.34)</li> <li>นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการฟังภาษาอังกฤษคิดเป็นร้อยละ 71.08 (= 8.53 , S.D. = &nbsp;1.86)</li> <li>พฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษกับทักษะการฟังภาษาอังกฤษ มีค่าสหสัมพันธ์เพียรสันอยู่ที่ 0.80 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01</li> <li>ผลของการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการฟังภาษาอังกฤษสามารถทำนายทักษะการฟังภาษาอังกฤษได้อย่างมีนัยสำคัญ (β = 0.80, p &lt; 0.01) โดยอธิบายความแปรปรวนของทักษะการฟังได้ 64% (R² = 0.64) สมการการถดถอยที่ได้จากการวิเคราะห์คือ: คะแนนการฟัง = -8.35 + 4.32 × พฤติกรรมการฟัง</li> </ol> <p>&nbsp;</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/2070 การใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ ดี อาร์ ที เอ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2025-03-07T15:40:39+07:00 จันทร์เพ็ญ ศรีสุวงค์ chanpensrisuwong@gmail.com นภาทรัพย์ เลิศปรีดากร napasupl@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบผลก่อนเรียนและหลังเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ ดี อาร์ ที เอ และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ ดี อาร์ ที เอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเพิ่ม (อรุโณอุปถัมภ์) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 <br />ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แบบแผนของการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ ดี อาร์ ที เอ ดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 13.66 คิดเป็นร้อยละ 34.16 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 30.11 คิดเป็นร้อยละ 75.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่าความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีเจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบ ดี อาร์ ที เอ อยู่ในระดับดีมาก</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/2075 ผลการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อการรู้เรื่องการอ่าน และความสามารถในการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2025-02-24T11:50:41+07:00 กิตติภัทร รุนกระโทก nacketzaa@gmail.com สิรินาถ จงกลกลาง sirinat.j@nrru.ac.th <p>ละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบความรักและผูกพันกับการอ่านก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 คน โรงเรียนด่านอุดมวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนเตรียมความพร้อม แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม แบบวัดการรู้เรื่องการอ่าน แบบวัดความสามารถในการเขียนสรุปความ และแบบวัดความรักและผูกพันกับการอ่าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบ t-test Dependent Sample และ t-test One Sample</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องการอ่านหลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการเปรียบเทียบความรักและผูกพันกับการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1571 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2024-12-06T16:42:08+07:00 ธิดารัตน์ ธิดารัตน์ thidarat.1119@gmail.com นฤมล ภูสิงห์ Narumolpusing@gmail.com <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)</p> <p> ผลวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี ในการแก้ปัญหา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.73 / 82.13</p> <p> 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา มีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/2136 ผลของวิธีการสอนแบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคผังมโนทัศน์ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2025-03-04T16:30:24+07:00 ธาราทิพย์ ทรวงดอน momayths2024@gmail.com สายสุนีย์ เติมสินสุข saisunee_nrru@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านระหว่าง<br />ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 <br />3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียน<br />ขามทะเลสอวิทยา ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้<br />โดยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ OK5R ร่วมกับเทคนิคผังมโนทัศน์ จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมงรวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่าน จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบการเขียนสรุปความ จำนวน 3 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<em>M)</em> ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <em>(</em><em>SD)</em> และการทดสอบค่าที (t-test for dependent และ t-test for one sample) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเข้าใจในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) ความเข้าใจในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ความสามารถในการเขียนสรุปความ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>.</em>05 และ 4) ความสามารถในการเขียนสรุปความหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1546 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2024-11-20T15:56:23+07:00 ศิรสิทธิ์ จอกสถิตย์ team1999sirasit@gmail.com นฤมล ภูสิงห์ narumolpusing@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียกับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย และแบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test One Samples</p> <p> ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p>2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ไทย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1520 ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ SQ5R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2024-11-09T19:19:20+07:00 พิทยาธร คำสุดแสง phittaya12010@gmail.com นิลรัตน์ โคตะ noinin41@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ SQ5R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้ SQ5R ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 25 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม</p> <p> เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ SQ5R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 แผน รวม 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การทดสอบค่าสถิติที แบบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ SQ5R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.92/81.04</li> <li>การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5</li> <li>การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5</li> </ol> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1955 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร 2025-02-18T11:29:34+07:00 พงศธร จันทร์อ้าย pongsatorn-j@rmutp.ac.th ชญาภัทร์ กี่อาริโย chayapat.s@rmutp.ac.th ธนภพ โสตรโยม thanapop.s@rmutp.ac.th ทักษิณา เครือหงส์ tugsina.k@rmutsb.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 และเรียนวิชาการงานอาชีพพื้นฐาน จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยคือ สื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด แบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร ในภาพรวมเท่ากับ 93.67/91.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องกระเป๋าจากผ้าสักหลาด วิชาการงานอาชีพพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (<em>M</em>=4.75, <em>SD</em>=0.52) ซึ่งพบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em>=4.78, <em>SD</em>=0.48) รองลงมาด้านเนื้อหา (<em>M</em>=4.74, <em>SD</em>=0.54) และด้านการสอน (<em>M</em>=4.73, <em>SD</em>=0.52) ตามลำดับ</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1586 การพัฒนาสมรรถนะของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2024-12-18T10:48:54+07:00 วิราวรรณ พุทธมาตย์ pwirawan6251@gmail.com สุภาพร ถีสูงเนิน boomsup.t@gmail.com สนุกจิต สิทธิวงศ์ sanukjit.si@cpru.ac.th วราวุฒิ มหามิตร warawut.m9@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 2) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 ประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 และระยะที่ 3 พัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ รวมจำนวน 30 คน และ 3) กลุ่มครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินรูปแบบ และแบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ <br />(3) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 โมดูล ส่วนที่ 2 การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผนกำหนดเป้าหมาย การลงมือปฏิบัติ การสังเกตชั้นเรียน การสะท้อนผล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (4) แนวทางการประเมินผล และ 2) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพยุคใหม่ศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M = 4.51</em>, <em>SD = 0.51</em>) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M = 4.51</em>, <em>SD = 0.50</em>) และ 3) ผลการทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ พบว่า หลังการอบรมครูมีสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/2026 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 2025-02-13T16:09:06+07:00 อภิสิทธิ์ นิมิตหมื่นไวย apisit.nimi@northbkk.ac.th สมนึก การีเวท somnuk.ka@northbkk.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ปีการศึกษา 2567 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง<br />โดยการใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan, 1970, p. 608 ) จำนวน 240 คน จากนั้นใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ (Proportional Stratified Random Sampling) และใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน และครู จำนวน 227 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ <br />มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.985 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด <br />คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ รองลงมา คือ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน และต่ำสุด คือ ภาวะผู้นำแบบสั่งการ ตามลำดับ</li> <li>ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง โดยภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด รองลงมา คือ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ส่วนภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุด <br />คือ ภาวะผู้นำแบบสั่งการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1981 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 2025-02-13T18:22:04+07:00 ธีรพล พิศาลโกศล 6612470014@rumail.ru.ac.th กัลยมน อินทุสุต kanyamon.i@rumail.ru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 370 คน จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Cohen แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยศึกษาสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/2017 ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2025-02-13T17:16:20+07:00 ปริศรา สุภา parissara9@gmail.com อัครวัฒน์ บุปผาทวีศักดิ์ Akkharawat@npu.ac.th นาวี อุดร nawee@npu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (2) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา (4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 139 คน และครู จำนวน 208 คน รวมทั้งสิ้น 347 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .32 - .72 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 (2) แบบสอบถามการดำเนินงานกระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหา 1.00 ค่าอำจำแนกรายข้อระหว่าง .34- .65 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (4) ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 มี 4 ตัวแปรได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรองค์กร (X<sub>4</sub>) ด้านการวางแผนกลยุทธ์(X<sub>2</sub>) ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร (X<sub>5</sub>) ด้านการกำหนดทิศทางองค์กร (X<sub>1</sub>) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 70 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ .21 สามารถเขียนสมการได้ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> Y' = .98 + .32X<sub>4</sub> +.21 X<sub>2</sub> + .15X<sub>5</sub>+.10 X<sub>1</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p> Zy' = .39 Z<sub>4</sub> + .26Z<sub>2</sub> +.18 Z<sub>5</sub>+.14 Z<sub>1</sub></p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1595 การให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2025-02-21T10:53:48+07:00 เกสร คงสำเภา kesorn@southeast.ac.th ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย nattaya@southeast.ac.th ณฐา ธรเจริญกุล natha@southeast.ac.th อัณณพา สายทอง annapa@southeast.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 ราย ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธี Stepwise Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า การให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การบริการหลัก(X<sub>1</sub>) การบริการที่อำนวยความสะดวก(X<sub>2</sub>) และการให้ความช่วยเหลือสนับสนุน(X<sub>3</sub>) มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยการให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีผลเชิงบวกต่อความทันเวลา ความถูกต้องครบถ้วน และการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .862 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R<sup>2</sup>) เท่ากับ .744 สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R<sup>2</sup><sub>adj</sub>) เท่ากับ .743 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p>Y = 1.058 + 0.413X<sub>1</sub> + 0.364X<sub>2</sub> + 0.358X<sub>3</sub></p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z<sub>Y</sub> = .555Z<sub>x1</sub> + .376Z<sub>x2</sub> + .366Z<sub>x3</sub></p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/1262 แนวทางการพัฒนาการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาเขิน หมู่ที่ 1 ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ 2024-06-12T16:36:14+07:00 มยุรินทร์ พันสนิท phansanitmayurin@gmail.com สุนทร ปัญญะพงษ์ soonpan_cpru@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาเขิน และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาเขิน การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ จำแนกการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ความเที่ยงและความตรง มีความน่าเชื่อถือในระดับสูง (ค่าความเที่ยง α = 0.87) ประชากรได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านนาเขิน จำนวน 754 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาเขิน อยู่ในระดับ<br />ปานกลาง ประกอบด้วย ด้านภาวะการเป็นผู้นำ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการวางแผน ด้านการเรียนรู้ ด้านการจัดการองค์กร และด้านการควบคุม ส่วนแนวทางการพัฒนาการจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาเขิน ประกอบด้วย 1) ด้านบริบทชุมชนเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ควรนำบริบทชุมชนที่โดดเด่นมาจัดการเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะด้าน Soft Power ได้แก่ อาหารและบุญประเพณี 2) ด้านการวางแผน ควรมีกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อเป็นเข็มทิศในการดำเนินงาน และบูรณาการแผนให้เกิดการปฏิบัติ 3) ด้านการจัดการองค์กร ควรกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการและมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน 4) ด้านภาวะการเป็นผู้นำ ควรมีผู้นำที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่สามารถกำหนดรูปแบบหรือกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเกิดความต่อเนื่อง 5) ด้านการควบคุม ควรส่งเสริมการเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินงานให้มีคุณภาพ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว 6) ด้านการมีส่วนร่วม ประชาชนในหมู่บ้านควรมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการ 7) ด้านการเรียนรู้ ชุมชนควรมีการเรียนรู้เทคนิควิธีการสมัยใหม่และนำเทคโนโลยี ด้านการท่องเที่ยวมาปรับใช้ในการจัดการองค์กรให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น</p> 2025-04-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ