เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความวิชาการและบทความวิจัย

 

รูปแบบการเขียนบทความ

 o รูปแบบการเขียนบทความวิจัย และรูปแบบการเขียนบทความวิชาการ สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

 

วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

            วารสารวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้และวิทยาการด้านต่าง ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคณาจารย์ บุคลากร นักวิชาการ นิสิตและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิและสถาบันหรือหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นราย 4 เดือน  (ปีละ 3 ฉบับ)

            ฉบับที่ 1  ตีพิมพ์เผยแพร่ (เดือนมกราคม - เมษายน)

            ฉบับที่ 2  ตีพิมพ์เผยแพร่ (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม)

            ฉบับที่ 2  ตีพิมพ์เผยแพร่ (เดือนกันยายน - ธันวาคม)

            บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

            ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ ได้แก่ งานวิจัย (Research papers) บทความปริทัศน์ (Review articles) หรือบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การส่งต้นฉบับ

  1. ภาษา พิมพ์ต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ การใช้ ภาษาไทยให้ ยึดหลักการ

ใช้คําศัพท์ และการเขียนทับศัพท์ ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ภาษาอังกฤษให้ ใช้ตัวเล็ก ทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะ ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษา  จากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน

  1. รูปแบบตนฉบับ ใช้กระดาษ A4 พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษบน ล่าง ซ้าย ขวา 2.54 เซนติเมตร จัดรูปแบบ 1 คอลัมน์
  2. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ ใช้ตัวอักษร THSarabunPSK   ซึ่งขนาด  ตัวอักษร มีดังนี้

        ชื่อเรื่อง ใช้ ตัวอักษรขนาด 18pt.ตัวหนา

        ชื่อ-สกุลผู้นิพนธ์  ใช้ ตัวอักษรขนาด 14pt.ตัวปกติ

        หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด16pt. ตัวหนา

        หัวข้อรอง ตัวอักษรขนาดใช 16 pt. ตัวหนา

        เนื้อเรื่องในหัวข้อหลักและหัวข้อรองใช้ ตัวอักษรขนาด 16pt. ตัวปกติ

       เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อ-สกุลตําแหน่งทางวิชาการหน่วยงานตนและสังกัดของผู้นิพนธ์ใช้ ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ

  1. จํานวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง ภาพประกอบ รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
  1. การส่ง ส่งfile ต้นฉบับ Microsoft Word

 

บทความวิจัยและบทความวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยหัวข้อและจัดเรียงลําดับดังนี้

  1. ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อ-สกุลผู้นิพนธ์ สังกัด ทุกคนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
  4. บทคัดย่อภาษาไทย(บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 350 คํา)
  5. คําสําคัญภาษาไทย
  6. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  7. คําสําคัญภาษาอังกฤษ (Keyword) 
  8. บทนํา
  9. วัตถุประสงค์การวิจัย
  10. สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  11. วิธีการวิจัย (ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร เครื่องมือการดําเนินการวิจัยหรือการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล)
  12. ผลการวิจัย
  13. อภิปรายผลการวิจัย
  14. ข้อเสนอแนะ
  15. เอกสารอ้างอิง

บทความทั่วไป ประกอบด้วยหัวข้อและจัดเรียงลําดับดังนี้

  1. ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อ-สกุลผู้นิพนธ์ สังกัด ทุกคนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
  4. บทคัดย่อภาษาไทย
  5. คําสําคัญภาษาไทย
  6. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  7. คําสําคัญภาษาอังกฤษ (Keyword) (บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 350 คํา)
  8. บทนํา
  9. เนื้อหา
  10. บทสรุป
  11. เอกสารอ้างอิง

 

รูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง

 

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

จุมพจน์ วนิชกุล. (2549). สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

 

วารสาร

ผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้า.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2546). กลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. รัฐประศาสนศาสตร์, 2(1), 9-39.

 

บทความในหนังสือพิมพ์

ผู้เขียนบทความ. (วันที่ เดือน ปี). “ชื่อบทความ”. ชื่อหนังสือพิมพ์. เลขหน้า.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (12 มกราคม 2537). “ข้าวไกลนา”. สยามรัฐ. หน้า 3.

 

ในกรณีไม่ทราบชื่อผู้เขียนบทความ ให้ลงรายการดังนี้

ชื่อบทความ. (วันที่ เดือน ปี). ชื่อหนังสือพิมพ์. เลขหน้า.

ริมฝั่งแม่น้ำมูล ความขัดแย้งที่ยังไม่จบสิ้น. (22 พฤษภาคม 2537). มติชน. หน้า 21.

 

วิทยานิพนธ์

ผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย.

กนกวรรณ ภิบาลสุข. (2534). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสียของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

 

แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อผู้แต่ง. (ปี, วัน เดือนที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. ชื่อเว็บไซต์. URL

- (กรณีที่มีเฉพาะปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ให้ใส่เฉพาะปี เท่านั้น)

- (กรณีที่ผู้แต่งและชื่อเว็บไซต์เป็นชื่อเดียวกัน ให้ตัดชื่อเว็บไซต์ออก

- ไม่ต้องมีขีดเส้นใต้ URL หรือเว็บไซต์ และไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) หลัง URL หรือเว็บไซต์

- กรณีที่ไม่ปรากฏปีที่เผยแพร่ ให้ลงวันที่ค้นข้อมูลแทน

ผู้แต่ง.\(ม.ป.ป.).\ชื่อเรื่อง.\ชื่อเว็บไซต์.\สืบค้นเมื่อวันที่,\จาก\URL

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2552).  ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic

World Health Organization. (2014). Global status report on alcohol and health 2014. http://www.who.int /iris/bitstream /10665/112736/1/ 9789240692763_eng.pdf

**การอ้างอิงเว็บไซต์ควรอ้างอิงเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ เข้าถึงได้ มีชื่อผู้แต่ง ปีที่ลงข้อมูลอย่างชัดเจน**