ผลการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากล ตามแนวคิดของดาลโครซ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีวิชาดนตรีสากล ตามแนวคิดของดาลโครซ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากล ตามแนวคิดของดาลโครซ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติทางดนตรี ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเนรมิตศึกษา จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมรายวิชาเพิ่มเติม วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติทางดนตรี จำนวน 4 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ แบบมาตราส่วนประมาณค่าในการวัดและประเมินผล ทักษะการปฏิบัติทางดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติทีแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 84.86 / 85.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาทักษะปฏิบัติทางดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่านักเรียนมีการเล่นและการสร้างสรรค์ ได้คะแนนร้อยละ 85.28 รองลงมาการฟังและการเคลื่อนไหวตามจังหวะ ได้คะแนนร้อยละ 80.83 การขับร้อง ได้คะแนนร้อยละ 80.56 และการอ่านและการเขียน ได้คะแนนร้อยละ 76.11 โดยมีค่าร้อยละเฉลี่ยรวมของคะแนนเต็มเท่ากับ 80.69
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กรมศิลปากร. (2560). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดนตรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกษมสันต์ ตราชู. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของ ดาลโครซสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2536). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกา หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ฝ่ายการพิมพ์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2540). สาระดนตรีศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2545). สาระดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10, ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนกร มหัทธนะกุลชัย. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติ วิชาดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนทางตรง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มนัสพงศ์ ภูบาลชื่น. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง คนตรีพื้นบ้านอีสานชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวความคิดของโซลตาน โคดาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนเนรมิตศึกษา. (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเนรมิตศึกษาพุทธศักราช 2564. ชัยภูมิ: อ.เจริญการพิมพ์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
สยาม จวงประโคน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(4), 7-18.
สัญญา จําปา. (2559). การพัฒนาทักษะปฏิบัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสากล เรื่องแซ็กโซโฟน ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2558). แนวคิดทฤษฏีการสอนดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีศรีนครินทรวิโรฒ , 19 (2), 21-31.
สุรศักดิ์ ปวะภูสะโก. (2552). การพัฒนาคู่มือการสอนรายวิชาดนตรีสากล2 การปฏิบัติแซกโซโฟน ช่วงชั้นที่ 4 วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.