ผลการฝึกโยคะบำบัดออนไลน์ร่วมกับออนไซด์ที่มีต่อการทรงตัว สมรรถภาพ และจิตใจของผู้สูงอายุหญิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา ผลการฝึกโยคะบำบัดออนไซด์ร่วมกับออนไลน์ที่มีต่อการทรงตัว สมรรถภาพ และจิตใจตามมุมมองของผู้สูงอายุหญิง กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครผู้สูงอายุหญิง 19 คน จากชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 60-70 ปี ที่ไม่เคยฝึกโยคะและตารางเก้าช่องมาก่อน กลุ่มตัวอย่างฝึกโยคะบำบัดแบบออนไซด์ 2 ครั้งและออนไลน์ 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ รวม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 10 สัปดาห์ การฝึกใช้เวลา 60 นาที ฝึกโยคะ 40 นาที และฝึกเดินบนตารางเก้าช่อง 20 นาที เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการกระตุ้นความจำด้วยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและตรวจสอบความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการสามเส้า ผลการวิจัยสรุปได้ 3 หัวเรื่อง คือ 1) ด้านการทรงตัว พบว่า 1.1) การทรงตัวดีขึ้น และ 1.2) ความกลัวการล้มน้อยลง 2) ด้านสมรรถภาพ คือ 2.1) ความแข็งแรงเพิ่มขึ้น 2.2) ความอดทนและการหายใจดีขึ้น 2.3) ความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น 2.4) อาการปวดเมื่อยลดลง และ 2.5) ความจำดีขึ้น 3) ด้านจิตใจ พบว่า 3.1) มีสติและสมาธิมากขึ้น 3.2) ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น 3.3) สนุกกับการออกกำลังกาย 3.4) ความเครียดลดลง ทำให้นอนหลับดีขึ้น และ 3.5) ชอบฝึกออนไซด์เพราะได้ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อนและครู โดยสรุป โปรแกรมโยคะบำบัดนี้มีความเหมาะสมและมีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการพัฒนาการทรงตัว สมรรถภาพและสุขภาพจิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2563, พฤษภาคม 16). ตาราง 9 ช่อง วิธีฝึกเพิ่มความสมบูรณ์แบบของการออกกำลังกายทุกเพศทุกวัย. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/sport-slide/news_2188301
เจริญ กระบวนรัตน์ และ สาลี่ สุภาภรณ์. (2557). ผลการออกกำลังกายด้วยยางยืด ตารางเก้าช่องและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่มีต่อสุขภาพ. วารสารคณะพลศึกษา, 17(2), 45-62.
นรารักษ์ ไทยประเสริฐ, สาลี่ สุภาภรณ์ และ ประสิทธิ์ ปีปทุม. (2562). ผลการฝึกโยคะและตารางเก้าช่องที่มีต่อสุขภาพและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ. วารสารคณะพลศึกษา, 22(2), 60-69.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรวุฒิ ธาราวุฒิ, สาลี่ สุภาภรณ์ และ อุษากร พันธ์วานิช. (2560). โยคะบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ: การออกแบบโปรแกรม. วารสารคณะพลศึกษา, 20(2), 83-89.
สาลี่ สุภาภรณ์. (2561). การเลือกออกกำลังกายของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: กรณีศึกษา. วารสารคณะพลศึกษา, 21(2).
สาลี่ สุภาภรณ์. (2566, กุมภาพันธ์ 21). สาลี่-โยคะบำบัด ชุดที่ 2. [Video]. YouTube. https://youtu.be/H6FbhW9AaM0
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานสถิติรายปี ประเทศไทย 2561. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.nso.go.th/public/e-book/Statistical-Yearbook/SYB-2018/index.html
อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย: ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 10(2), 46-58.
American College of Sports Medicine: ACSM. (2021). ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription (11th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Barrows, J. L., & Fleury, J. (2016). Systematic Review of Yoga Interventions to Promote Cardiovascular Health in Older Adults. Western Journal of Nursing Research, 38(6), 753-781.
Brinsley, J., Smout, M., & Davison, K. (2021). Satisfaction with Online Versus In-Person Yoga During COVID-19. The Journal of Alternative and Complementary Medicine, 27(10), 893-896.
Bucht, H., & Donath, L. (2019). Sauna Yoga Superiorly Improves Flexibility, Strength, and Balance: A Two-Armed Randomized Controlled Trial in Healthy Older Adults. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(19), 3721.
Cha, H.-J., Kim, K.-B., & Baek, S.-Y. (2022). Square-Stepping Exercise Program Effects on Fall-Related Fitness and BDNF Levels in Older Adults in Korea: A Randomized Controlled Trial. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(12), 7033.
Chobe, S., Patra, S. K., Chobe, M., & Metri, K. (2022). Efficacy of Integrated Yoga and Ayurveda Rasayana on Cognitive Functions in Elderly with Mild Cognitive Impairment: Non-Randomized Three-arm Clinical Trial. Journal of Ayurveda and Integrative Medicine, 13(1), 100373.
Hoy, S., Östh, J., Pascoe, M., Kandola, A., & Hallgren, M. (2021). Effects of Yoga-Based Interventions on Cognitive Function in Healthy Older Adults: A Systematic Review of Randomized Controlled Trials. Complementary Therapies in Medicine, 58, 102690.
Khoo, Y. J. L., Van Schaik, P., & McKenna, J. (2014). The Happy Antics Programme: Holistic Exercise for People with Dementia. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 18(4), 553-558.
Matko, K., Sedlmeier, P., & Bringmann, H. C. (2022). Embodied Cognition in Meditation, Yoga, and Ethics-An Experimental Single-Case Study on the Differential Effects of Four Mind-Body Treatments. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(18), 11734.
Mooventhan, A., & Nivethitha, L. (2017). Evidence Based Effects of Yoga Practice on Various Health Related Problems of Elderly People: A Review. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 21(4), 1028-1032.
Okubo, Y., Schoene, D., & Lord, S. R. (2017). Step Training Improves Reaction Time, Gait and Balance and Reduces Falls in Older People: a Systematic Review and Meta-Analysis. British Journal of Sports Medicine, 51(7), 586-593.
PP, S. J., Manik, K. A., & Sudhir, P. (2018). Role of Yoga in Attention, Concentration, and Memory of Medical Students. National Journal of Physiology, Pharmacy and Pharmacology, 8(11), 1526-1528.
Sawasdee, C., Auvichayapat, P., Punjaruk, W., Leelayuwat, N., & Tunkamnerdthai, O. (2020). Effects of Modified Square-Stepping Exercise on Heart Rate Variability and Body Fat in the Elderly. Journal of Exercise Physiology Online, 23(6).
Schmid, A. A., Fruhauf, C. A., Sharp, J. L., Van Puymbroeck, M., Bair, M. J., & Portz, J. D. (2019). Yoga for People With Chronic Pain in A Community-Based Setting: A Feasibility and Pilot RCT. J Evid Based Integr Med, 24, 1-11.
Shin, S. (2021). Meta-Analysis of the Effect of Yoga Practice on Physical Fitness in The Elderly. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(21), 11663.
Wang, C. C., Li, K., Choudhury, A., & Gaylord, S. (2019). Trends in Yoga, Tai Chi, and Qigong Use Among US Adults, 2002-2017. Am J Public Health, 109(5), 755-761.
Weber, M., Schnorr, T., Morat, M., Morat, T., & Donath, L. (2020). Effects of Mind–Body Interventions Involving Meditative Movements on Quality of Life, Depressive Symptoms, Fear of Falling and Sleep Quality in Older Adults: A Systematic Review with Meta-Analysis. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(18), 6556. https://doi.org/10.3390/ijerph17186556
Wooten, S. V., Signorile, J. F., Desai, S. S., Paine, A. K., & Mooney, K. (2018). Yoga Meditation (YoMed) and Its Effect on Proprioception and Balance Function in Elders Who Have Fallen: A Randomized Control Study. Complementary Therapies in Medicine, 36, 129-136.