การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการเจาะจงนักเรียน เก่ง อ่อน ปานกลาง เครื่องมือที่ใช้ 1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ 2. แผนการจัดการเรียนรู้ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจควา 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 80.58 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.64 E1/E2=80.58/82.64 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความ
พึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิราภรณ์ บุญณรงค์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค KWL กับวิธีสอนแบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยณรงค์ ขำบัณฑิต และชนิศา ตันติเฉลิม. (2562). ผลการใช้โปรแกรมสอนอ่านทางตรงส่งเสริมความพยายามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาด้านการอ่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2548 ). คู่มือความคิดสร้างสรรค์์ในการจัดทำนวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธารอักษร
ธนาภรณ์ ผาดไธสง และสมปัต ตัญตรัยรัตน์. (2556). ผลการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยนวัตกรรมกระบวนการอ่าน 5 ขั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(3), 42-49.
นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.
นริสรา สุนนทราช. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิพยงค์ ทองทิพย์ สุวรรณณี ยหะกร และศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกการอ่านจับใจความ ที่มีต่อความสามารถด้าน การอ่านจับใจความและความพึงพอใจต่อการอ่านวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 243-251. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/131356/98554
บุญธรรม กิจปรีดาบริสิทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
รินทร์ณฐา บวรวัชรเศรษฐ์ และ วรางคณา โสมะนันทน์. (2564).การศึกษาการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์ COVID-19 สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10(2), 121-135.
ศศิกัญชณัฐ เส็งเส. (2554). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). จัดทำแบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อุทุมพร อินทจักร์ ภัทรา วยาจุต และคัมภีร์ วชิรเชื่อนขันธ์. (2566). “ถุงสนุกคิด” นวัตกรรมการนำความรู้ไปหาผู้เรียน เพื่อลดภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(6), 109-123. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSC/article/view/264487/178053