นวัตกรรมการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนในศตวรรษที่ 21
มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาปัญหาและปัจจัยความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชนในการประกอบธุรกิจสู่ตลาดดิจิทัล 2) พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษาฟาร์มแม่ประนอม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 3) ประเมินระดับความสำเร็จในการใช้ระบบบริหารจัดการ ในเขตพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการชุมชนฟาร์มแม่ประนอม ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 10 คน ให้ข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และลูกค้าทั่วไปใช้การสุ่มแบบบังเอิญจำนวน 90 คน รวม 100 คน และแบบสอบถามเพื่อวัดระดับความสำเร็จของการใช้งานระบบงาน ประมวลผลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาหรือสภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการชุมชนฟาร์มแม่ประนอม มีทักษะด้านเทคโนโลยีอยู่ในระดับปานกลาง ยังไม่พบการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์หรือยังไม่พบช่องทาง
จัดจำหน่ายอย่างอื่น ผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านบุคลากรมีสมาชิกที่พร้อมพัฒนาทักษะและด้านการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลประกอบการได้เป็นอย่างดี 2) การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการ สามารถเป็นเครื่องมือที่นำไปช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และลดความผิดพลาดในการประกอบธุรกิจได้ 3) การประเมินระดับความพึงพอใจการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.55) การประเมินระดับความพร้อมของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.65) การประเมินระดับความพร้อมของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.60) และการประเมินการนำข้อมูลไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดี่ยวกัน (=4.69) ซึ่งผลจากการพัฒนาระบบบริหารจัดการในครั้งนี้จะส่งผลให้ผู้ประกอบการชุมชนนำไปสร้างและเพิ่มรายได้ รวมทั้งผล
ในการศึกษาครั้งจะสามารถเป็นต้นแบบให้กับผู้ประกอบการที่มีลักษณะธุรกิจแบบเดียวกันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2550). วิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพมหานคร: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ .
ชัยรัตน์ ชามพูนท และคณะ. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 195-208.
ฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์ และ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2557). แนวทางในการพัฒนาร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อรองรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ : ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(3), 82-90.
ดนุวศิน เจริญ. (2561). ดิจิทัลไทยแลนด์. NIDA Case Research Journal, 10(2), 1-44.
เดือนเพ็ญ อนันต์พัฒนกุล. (2564). การจัดระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการบูรณาการการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์, 8(1),19-30.
นภดล ร่มโพธิ์. (2552). การประเมินความสำเร็จของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(122), 4-7.
นิตยา สุริน. (2562). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล : กรณีศึกษาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล สำนักงานศาลยุติธรรม. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
น้ำฝน อัศวเมฆิน. (2560). หลักการพื้นฐานของวิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดดูเคชั่น .
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์. (2564). ดัชนีวัดความสำเร็จของการจัดการธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ในยุคปกติใหม่. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(12), 607-619.
เศกสรรค์ คงคชวัน. (2556). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 228-247.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สามารถ พันธ์เพชร. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
อนุชา ม่วงใหญ่. (2556). แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและท้องถิ่น ในศตวรรษที่ 21. EAU HERITAGE JOURNAL Social Science and Humanity, 6(3), 12-26.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพ. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).