จิตพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

นฤมล แสงพรหม
ยุธยา หมื่นสาย
นันท์ปพร สิทธิยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เปรียบเทียบจิตพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกตามเพศและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 420 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตพฤติกรรมประชาธิปไตย ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 75 ข้อ มีค่าอำนาจนำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.32-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดมีระดับจิตพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านคารวธรรม ด้านปัญญาธรรม และด้านสามัคคีธรรม

  2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดเพศชายและเพศหญิงมีจิตพฤติกรรมประชาธิปไตย
    ไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดที่อยู่ในขนาดโรงเรียนแตกต่างกันมีจิตพฤติกรรมประชาธิปไตยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นฤมล แสงพรหม, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ยุธยา หมื่นสาย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

นันท์ปพร สิทธิยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช. https://www.moe.go.th/ค่านิยมหลักของคนไทย-12-ปร-2/

คณะกรรมการการเลือกตั้ง, สำนักงาน. (2555). วิถีประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการเลือกตั้ง.

คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). พฤติกรรมประชาธิปไตย. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/democratic-behavior

ธนวรรธน์ สุวรรณปาล. (2563). รูปแบบการดำเนินงานสภานักเรียนสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

พระมหาสำราญ บรรณามล. (2550). การพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยสำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดไผ่ดำ อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พัชราวลัย ศิลป. (2545). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยรุ่นตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลขาธิการวุฒิสภา, สำนักงาน. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

วิชัย ตันศิริ. (2557). ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา มูลนิธิส่งเสริมนโยบายการศึกษา.

วัลยภรณ์ แดงเกิด. (2555). การศึกษาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ที่ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบ 2. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุทธิพงษ์ เทศต้อม และ จำเนียร พลหาญ. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(2), 851-866.

หมัดเฟาซี รูบามา, จิตกรี บุญโชติ, นพวัลภ์ มงคงศรี, คัมภีร์ ทองพูน, สุกรี บุญเทพ, พัตรธีรา สุวรรณวงศ์, คารม บัวผัน, ไกรษร วงศ์พรัด และ อับดุลเราะมัน มอลอ. (2564). “ความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนรัตภูมิวิทยา จังหวัดสงขลา” เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. (หน้า 103-122). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.