การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้

Main Article Content

นภาเดช บุญเชิดชู
ชัยยุธ มณีรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาผู้เรียน และการบริหารแหล่งการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้นักวิชาการและผู้สนใจสามารถนำไปใช้ในการบริหารแหล่งการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและพัฒนาวิชาชีพของครูและผู้บริหารได้ โดยแหล่งการเรียนรู้มีด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล วิทยากร ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประสบการณ์ของบุคคล และในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคดิจิทัลแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญคือแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นออนไลน์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สถานศึกษาจึงต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ขึ้นในสถานศึกษาและจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

นภาเดช บุญเชิดชู, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000

ชัยยุธ มณีรัตน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000

References

กรกฎา นักคิ้ม และเจษฎา บุญมาโฮม. (2555). การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างไร...........ให้ได้ผู้เรียน. กรุงเทพ: วิสต้า อินเตอร์ปริ้น.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2564). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน (ฉบับปรับปรุง). นครปฐม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ธัญชนก แสงใส. (2558). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พิชญ์สินี จิตต์ว่องไว. (2557). การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2553). การพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1999).

สุจิตรา ภักดีสงคราม (2551). แหล่งการเรียนรู้: เครื่องมือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพสำหรับครูสังคมศึกษา. วารสารรามคำแหง, 25(3), 143-150.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2558). ปรัชญาและมโนทัศน์สังคมแห่งการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิตยา สุขโพธิ์เพชร. (2554). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและครูที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Bušljeta, R. (2013). Effective Use of Teaching and Learning Resources. Czech-Polish Historical and Pedagogical Journal, 5 (2), 55-70.

Kangpheng. S., and others. (2018). A Development of Systematic Learning Resources Management Process to Strengthen Sufficiency Attributes of Secondary School Students. International Education Studies; 11 (12), 42 – 48.

Maughan, S., Teeman, D. & Wilson, R. (2012). What leads to positive change in teaching practice. Slough: NFER.

OECD. (2009). Creating effective teaching and learning environments: First results from Talis. Paris: OECD, Teaching and Learning International Survey.

Osborne, M. (2013). Modern learning environments. Christchurch, NZ: Core Education.