การพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน

Main Article Content

นันท์นลิน ขุนทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จำนวน 33 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลงานการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบของวิลค็อกซัน แบบ One sample – Wilcoxon


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.21 คะแนนจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยคิดเป็นร้อยละ 91.06 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.07

  2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาส รายวิชาการงานอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานโดยคิดเป็นร้อยละ 91.06
    สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการประดิษฐ์ของใช้ด้วยผ้าแคนวาสโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 0.44

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นันท์นลิน ขุนทอง, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

References

กรองแก้ว วงษ์สวรรค์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเค้าโครงของโครงงาน รายวิชาโครงงานอาชีพ 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนสตรีพัทลุง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชอบ ลีซอ. (2542). การประกันคุณภาพในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเอกสารประกอบโครงการ ประชุมบุคลากรหลัก เรื่อง การจัดทำเอกสารแนวดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา พระนครศรีอยุธยา: ม.ป.พ

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จาก โครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและ เยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

ประเสริฐ เรือนนะการ. (2559). สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). การประเมินเว็บช่วยสอน. http://campus.fortunecity.com/purdue/219/index.html

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักขณาลี สวนพูล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทำงานในรายวิชาการงานอาชีพ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). สร้าง“ทักษะ” ให้ผู้เรียน พร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. วารสาร School in Focus, 4(11), 2 - 5.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2549). พฤติกรรมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม : มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อออกแบบและวางแผน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกล โกมลศรี ,เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม ,อำไพ สวัสดิราช และประสิทธิ์ นิ่มจินดา. (2563). การศึกษาผลจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) เรื่อง งานประดิษฐ์แสนสนุกโดยใช้ชุดฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 6(2), 253-259.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสารการพิมพ์.

สมบัตร บารมี. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท มหพันธ์ไฟเบอร์ ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อานนท์ พิลาภ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติงานอาชีพ โดยใช้รูปแบบโครงงานกลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2559). การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.