การพัฒนาหลักสูตรครูแนะแนวโดยการประยุกต์ใช้หลักการ ทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สำหรับพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรครูแนะแนวโดยการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สำหรับพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนางานแนะแนว การพัฒนาหลักสูตรครูแนะแนวโดยใช้หลักการทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาท ทดลองใช้และประเมินผลหลักสูตร กลุ่มเป้าหมายมีครูแนะแนวในจังหวัดกาญจนบุรี 52 คน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 12 คน และครูแนะแนวที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ซึ่งแต่ละชั้นตอนของการวิจัยใช้กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูแนะแนวสนใจนำแนวทางทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทไปใช้ในการจัดกิจกรรมแนะแนวในระดับมาก การพัฒนาหลักสูตรครูแนะแนวโดยการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สำหรับพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียน หลักสูตรมัธยมศึกษา และหลักสูตรประถมศึกษา 3. ครูแนะแนวระดับมัธยมศึกษาและครูแนะแนวระดับประถมศึกษามีความรู้ความเข้าใจการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สำหรับพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนร้อยละ 91.80 และร้อยละ 91.40 ตามลำดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 และ 4. ครูแนะแนวทุกคนทำแผนคนละ 1 หน่วยและได้นำแผนไปใช้ทุกคน ผลของกิจกรรมถอดบทเรียนครูแนะแนวเห็นว่าควรนำแนวทางทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทไปใช้ในการจัดกิจกรรมและไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
แก่นทอง สุวรรณมาลิก. (2549). แนวทางการทรงงานตามเบื้องพระยุคลบาทฯ SAPAE. ม.ป.ท.
กลุ่มพัฒนาระบบการแนะแนว สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2564, 3 มีนาคม) แผนพัฒนาการแนะแนวและแผนกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2561-2565) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). https://http://www.guidestudent.obec.go.th/?p=1071
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี (2563). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. เอกสารอัดสำเนา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.
กอนแก้ว จันทะเกษ. (2556). การพัฒนาการจัดบริการแนะแนวโรงเรียนบ้านนาสีนวลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2563. https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/1664788620103-248403179.pdf
ธนียา เทียนคำศรี. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. รมยสาร. 12(1), 103-113.
มิลินท์ เจริญชนม์. (2558). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.
อลงกรณ์ เลิศปัญญา และสบสันติ์ อุตกฤษฏ์ (2562)“การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหางาน”, วารสารวิชาการครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(2), 138-147.
World Health Organization. (1994). Life skills education for children and adolescents in school. Geneva, Switzerland: World Health Organization.
st Century Skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. (2566, 26 October). Code Genius. https://codegeniusacademy.com/21st-century-skills/