ผลการจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์ รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระหว่างก่อนและหลังการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และ (4) เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์การเรียนการสอนด้วยการบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆของนักศึกษาแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้น ปวส. 2 แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์, แบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆทั้งก่อนและหลังเรียน, แบบฝึกปฎิบัติการหน่วยการเรียน และแบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์, วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ ทดสอบหาค่าทีแบบไม่อิสระ และ E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีหน่วยการเรียนรู้ 8 หน่วย บูรณาการด้วยการประมวลผลกลุ่มเมฆ Google workspace ผลการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
- ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.38/82.50
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่เกณฑ์ร้อยละ 80 นักศึกษาผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 80.95
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาจากการจัดการเรียนการสอนบูรณาการการประมวลผลกลุ่มเมฆ พบว่าอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
เจษฎา ราษฎร์นิยม เยาวภา แสงนนท์ มนมนัส สุดสิ้น และอารยา ลี. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. Walailak Journal of Learning Innovations, 6(2), 97 - 115.
เฉลิมวุฒิ อุทัยกัน สมถวิล ชูเนตร และสกาวเดือน ไชยสา. (2565). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 4(1), 1-13.
ชนินทร์ ฐิติเพชรกุล ณรงค์ สมพงษ์ และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์คอมพิวติงตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารราชพฤกษ์, 18(1), 38 - 48.
ทวีสิน อำนวยพันธ์วิไล พิชญาภา ยวงสร้อย รุจโรจน์ แก้วอุไร และกิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 28(3), 81 – 94.
ปริญญา ยวงทอง วีระพันธ์ พานิชย์ และอาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 107 – 115.
พิมผกา เกตนอก. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์และสื่อประกอบการสอนโรงเรียนบ้านบุเสมาทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 4(2), 1-10.
มหาชาติ อินทโชติ และเกียรติศักดิ์ พันธ์ลําเจียก, (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์บนคลาวด์คอมพิวติงเพื่อเสริมสร้างทักษะสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับปริญญาตรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 112 - 124.
เมษา พูลสวัสดิ์ และนวลศรี ชำนาญกิจ. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 7(5), 131- 14.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2557). ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในงานทางการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 149 – 157.
วีระพันธ์ พานิชย์. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบ กับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสาร HRD Journal, 13(1), 53-74.
สุชิดา คำแสงทอง เนตรชนก จันทร์สว่าง และกรวี นันทชาด. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น แบบออนไลน์ เรื่อง เซลล์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(2), 125-133.
สุดาวัลย์ ศรีมาลัย ฐิติวรดา แสงสว่าง และเฉวียง วงค์จินดา. (2565). การศึกษาระบบการจัดการอาชีวศึกษา การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อความพึงพอใจของนักเรียนสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการ อาชีวศึกษา, 6 (2), 91 – 103.
อนันต์ธชัย คาหาญ พิทักษ์วงษ์ชาลี และ ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 เรื่องวัสดุรอบตัว โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคผังกราฟิก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 128-138.
อัจฉรีย์ พิมพิมูล และ อิสรีย์ พิมพิมูล. (2565). ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ รายวิชาการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนบนเว็บสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 28(4), 67-85.