ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

วราภรณ์ เลิศขามป้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 169 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนประชากร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ t – test ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F -test แบบ One-way ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}= 4.05, S.D. = .34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริการ และขั้นตอนการให้บริการ (gif.latex?x\bar{} = 4.26, S.D. = .39) รองลงมาคือ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ(gif.latex?x\bar{} = 4.19, S.D. = .42), ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ (gif.latex?x\bar{} = 4.02, S.D. = .45) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ (gif.latex?x\bar{} = 3.76, S.D. = .50)

  2. ผลเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์ ของนักศึกษาเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการบริการ และขั้นตอนการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกไม่แตกต่างกัน

  3. ผลเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำแนกตามสาขาวิชา พบว่า โดยภาพรวมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ของนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สูงกว่าสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์และด้านการบริการ และขั้นตอนการให้บริการไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เลิศขามป้อม ว. (2023). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ . วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(2), 22–33. สืบค้น จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/rdicpru/article/view/615
บท
บทความวิจัย
Author Biography

วราภรณ์ เลิศขามป้อม, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรี ภูบุญอิ่ม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา เกี่ยวกับการบริการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วันเพ็ญ ศรีมะโรง. (2557). ความพึงพอใจในการบริการของงานอนุมัติผลการศึกษา. สังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิชัย ธิโวนา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุกัญญา โภคา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการของหอสมุด พระราชวังสนามจันทร์สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิยาลัยศิลปากร.

สุจิน บุตรดีสุวรรณ. (2550). การรู้สารสนเทศ (Information Literacy) สำหรับนักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา. วารสารห้องสมุด, 51(2-พิเศษ), 73-80.