การศึกษาสภาพปัญหาการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

ปทิตตา มาตย์วังแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้คำ 2) ด้านการใช้ประโยค 3) ด้านการใช้เครื่องหมาย 4) ด้านการเขียนย่อหน้า 5) ด้านการใช้ตัวเลข เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา


         ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้ประโยค รองลงมาคือ ด้านการใช้เครื่องหมาย ด้านการเขียนย่อหน้า ด้านการใช้ตัวเลข ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการใช้คำ และแนวทางแก้ไขปัญหา  การใช้ภาษาในการเขียน หนังสือราชการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประกอบด้วย การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกทักษะทางภาษา และการจัดทำคู่มือ การเขียนหนังสือราชการ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปทิตตา มาตย์วังแสง, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

งานบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

ณัฐรัตน์ แท่นทอง และคณะ. (2563). การใช้ภาษาไทยในการเขียนหนังสือราชการ ที่ว่าการอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(1), 83-102.

ธนู ทดแทนคุณ. (2564). ปัญหาในการเขียนหนังสือราชการของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนราชการ ในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 80-91.

นครชัย ชาญอุไร. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภาคภูมิ หรรนภา. (2554). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: อินทนิล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วันชัย แก้วหนูนวล และภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2561). ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษา การเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 1-11.

สุมาลี พลขุนทรัพย์. (2559). ข้อผิดพลาดในการเขียนหนังสือราชการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 12 The 12th International Conference on Humanities and Social Sciences (IC-HUSO 2016) (น. 1223-1244). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). คู่มือการเขียนหนังสือราชการ. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2548). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526. (23 กันยายน 2548). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 99 ง. หน้า 2-13. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

อรอนงค์ ตั้งก่อเกียรติ และคณะ. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปรหัสวิชา 0010101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.