ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

วราภรณ์ เลิศขามป้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 161 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนประชากร เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านผู้สอน, ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ

  2. ผลเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำแนกตามชั้นปีการศึกษา และสาขาวิชา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน

  3. ข้อเสนอแนะสำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีดังนี้ จัดกิจกรรมตามการเรียนการสอน ทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร สอดคล้องกับทักษะที่ต้องการพัฒนา อาจารย์ผู้สอนควรมีการเตรียมเนื้อหาก่อนสอนทุกครั้ง ต้องมีเวลาและเนื้อหาที่เหมาะสมและสอดคล้องกันควรจัดหาสิ่งแปลกใหม่ในโลกของวิชาการให้ทันสมัยไปพร้อม ๆ กับการสอนนักศึกษา ควรมีสื่ออุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้นักศึกษาไม่เบื่อหน่าย

 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วราภรณ์ เลิศขามป้อม, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิยาลัยราภัฏชัยภูมิ

References

กรกมล ลีลาธีรภัทร. (2556). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ขนมไทยเก้าพี่น้อง. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

กัญนิษฐ์ แซ่ว่อง และมารีย๊ะ ปุเต๊ะ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(2), 14 - 30.

จารุวรรณ เทวกุล. (2555). ความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชิศากัญญ์ เล่าชู. (2554). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาจีนต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจแขนงธุรกิจระหว่างประเทศที่จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาไทยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553) การจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). เทียนวัฒนา พรินท์ติ้ง.

สมฤดี พงษ์เสนา กัญญา บวรโชคชัย และอรวรรณ ริ้วทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารชุมชนวิจัย. 13(3), 94 – 107.

อดิศักดิ์ ศุภธนสินเขษม. (2554). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนสอนสอนรายวิชา CSE 105 โครงสร้างข้อมูล สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟท์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรวรรณ ธนูศร. (2559). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.