การใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2

Main Article Content

นิลรัตน์ โคตะ
กมลวรรณ ทศช่วย
ฐพัชร์ โคตะ
รัชชานนท์ ศรีแสงจันทร์
วิลัยลักษณ์ โคตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 4 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 32 แผน แบบประเมินความสามารถในการคิดพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)


  1. ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.92/82.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80)

  2. ความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 หลังการใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิลรัตน์ โคตะ, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

กมลวรรณ ทศช่วย, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

ฐพัชร์ โคตะ, โรงเรียนบ้านโสกคลอง

โรงเรียนบ้านโสกคลอง

รัชชานนท์ ศรีแสงจันทร์, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม

วิลัยลักษณ์ โคตะ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอนุบาล 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ฉัตรมงคล สวนกัน. (2555). พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ด้วยเกม การศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(7), 118-127.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ดารุณี กะลาสี. (2559). รายงานการใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนครนอก). สงขลา: กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นตำบลบ่อยาง.

ทัศนีย์ แสงทรัพย์. (2557). รายงานผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ 3 กิจกรรมหลัก โดยเน้นกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ สำหรับเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 1. จันทบุรี: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตำบลวัดใหม่.

พิชญ์ทิพา สุวรรณศรี. (2554). การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกเพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชกัฏมหาสารคาม.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วรรณี วัจนสวัสดิ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอ พี กราฟฟิค ดีไซน์.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก. (2560). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.