การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน

Main Article Content

เพ็ญนิตย์ เมตตา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบัวใหญ่ 4 จำนวน 124 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5      ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหนองหว้าเอน จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน 2) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัย หน่วย เศษส่วน จำนวน 21 แผน 3) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.87 /84.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน มีค่าเท่ากับ 0.68 แสดงว่านักเรียนมีความรู้ 0.68 หรือ คิดเป็นร้อยละ 68.58

  4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์     ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วย เศษส่วน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เพ็ญนิตย์ เมตตา

โรงเรียนบ้านหนองหว้าเอน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6