รูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬา 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อใช้รูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 152 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จำนวน 2 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลการวิจัยระยะที่ 1-2 มาสร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ ระยะที่ 3 ใช้รูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยประเมินสภาพก่อนและหลังการใช้รูปแบบ สอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แบบประเมินผลรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ร้อยเอ็ด พบว่า ได้รูปแบบเป็น SUCHAYA Model ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การใช้รูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด มีการดำเนินการดังนี้ 1) ขั้นวางแผน (Plan) 2) ขั้นดำเนินการ (Do) 3) ขั้นตรวจสอบ (Check) และ 4) ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act)
4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
4.1 ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมหลังการนำรูปแบบไปใช้มีระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการนำรูปแบบไปใช้ โดยก่อนการนำรูปแบบไปใช้มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางหลังการนำรูปแบบไปใช้มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4.2 การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการพัฒนาความเป็นเลิศทางกีฬาของโรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License