แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 4 วิทยาเขต ได้แก่ ชัยภูมิ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และอุดรธานี จำนวน 274 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ มี 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน รายด้านและโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาทักษะด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมเพื่อให้นักศึกษาสร้างแนวคิด จิตสำนึก ความรับผิดชอบ และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ควรสอนให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยใช้ สื่อ สารสนเทศ ในระบบอินเตอร์เน็ต Facebook ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน ควรจัดกิจกรรมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การทำงานจากรุ่นพี่ และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตอาสาในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License