การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ตามบริบทอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาในการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามบริบทอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ปราชญ์และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ ระยะเวลาในการศึกษา 1 ตุลาคม 2560–30 กันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ โดยแบ่งเป็นฉบับย่อย 5 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาในการเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีการจัดทำโครงการรองรับและต่อยอดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ ทีมงานเข้มแข็งและมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ คือ โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม บุคลากรให้ความร่วมมือ ต้องการการสร้างศูนย์การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้
- รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามบริบทอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม มีหลักการและแนวคิดตามรูปแบบ “พลังโมเดล (PALANG-MODEL)” มี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ร่วมวางงาน (Plan) ประสานเครือข่าย (Area Coordination) จัดค่ายแหล่งเรียนรู้ (Learning Source Camp) บูรณาการหลากหลาย (All Around Integration) กระจายสู่ชุมชน (Needs Community) และ ประเมินผลเพื่อพัฒนา (Growth Evaluation)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License