การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมคุณภาพงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ประชากร คือ ครู จำนวน 38 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือ ได้แก่แบบสอบถาม แบบบันทึก แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง
- รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ ภาวะผู้นำ การจัดองค์กร การมีส่วนร่วม การสอนแนะ การประเมินผล และการสร้างขวัญกำลังใจ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบริหารคุณภาพงานวิชาการ องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการ ประกอบด้วย งานวิชาการ 8 งาน และองค์ประกอบที่ 4 การประเมินผล พบว่า 1) ผลการตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยเฉลี่ยภาพรวมความสอดคล้องอยู่ใน ระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบชั่วคราวการบริหารงานวิชาการ โดยเฉลี่ยภาพรวมความสอดคล้องอยู่ใน ระดับมากที่สุด
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
- ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพงานวิชาการ โรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้และความถูกต้องครอบคลุม โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License