การศึกษาความสามารถด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดสื่อประสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดสื่อประสม 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแก้งยาว อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจำนวน 10 คำ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียน จำนวน 10 คำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานคือ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test)
ผลวิจัยพบว่า
- 1. ความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 2. ความสามารถด้านการเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ชุดสื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License