การพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา สําหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงทดลอง เก็บข้อมูลโดยวิธีการทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest–Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- กิจกรรมการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา วิเคราะห์ได้ดังนี้
1.1 กิจกรรมเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง การมีส่วนร่วม ความสิ้นเปลือง การประหยัด การอนุรักษ์ และภาวะโลกร้อน
1.2 กิจกรรมการอนุรักษ์น้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง การประหยัด จิตสำนึก กับการใช้ประโยชน์ ความขาดแคลน และการดูแลรักษา
1.3 กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง การปลูกป่า การทำลายป่า การอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และความแห้งแล้ง
- ผลการเปรียบเทียบ ก่อน- หลัง ด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.1 ด้านความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนการทดลองมี คะแนนเฉลี่ย 15.60
คะแนน และหลังการทดลองคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 24.00 คะแนน
2.2 ด้านทัศนคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 3.10 คะแนน และหลังการทดลองคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 4.66 คะแนน
2.3 ด้านการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนการทดลองคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 1.73 คะแนน และหลังการทดลองคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 2.75 คะแนน
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License