ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพยากรณ์แต่ละตัวกับความรับผิดชอบในการเรียน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียน และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 411 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Milti - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) แบบวัดความมีวินัยในตนเอง 3) แบบวัดนิสัยทางการเรียน 4) แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู 5) แบบวัดการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครอง 6) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว 7) แบบวัดลักษณะทางกายภาพของการเรียน 8) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน 9) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และ10) แบบวัดความรับผิดชอบในการเรียน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (IOC) ระหว่าง .60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .222 - .879 ค่าความเชื่อมั่นรายด้านระหว่าง .708 - .897 ค่าความเชื่อมั่นรายฉบับ เท่ากับ .751 .803 .889 .617 .820 .834 .562 .760 .743 และ.918 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธี Stepwise ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความรับผิดชอบในการเรียน อยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพยากรณ์แต่ละตัวกับความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .400 ถึง .807 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 มีตัวแปรพยากรณ์ 6 ตัว ที่ร่วมกันพยากรณ์ความรับผิดชอบในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรพยากรณ์ที่มีค่าสูงสุด คือสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว รองลงมาคือการอบรมเลี้ยงดู นิสัยทางการเรียน ลักษณะทางกายภาพของการเรียนสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และตัวแปรที่สามารถทำนายความรับผิดชอบในการเรียนได้น้อยที่สุด คือ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีค่า Beta เท่ากับ .518 .497 .261 -.236 -.230 .223 ตามลำดับ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความรับผิดชอบในการเรียนได้ร้อยละ 83.40 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ .203 สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Y' = .365 + .224 X3 + .446 X4+ .440 X6 - .203X7 + .201X8 - .205X9
Z' = .261Zx3 + .497Zx4 + .518Zx6 - .236Zx7 + .223Zx8 - .230 Zx9
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License