การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

Main Article Content

นธิยา ภัทรวังฟ้า
นัฎจรี เจริญสุข
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาทักษะจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู และ 3) ศึกษาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 1,679 คนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 313 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


       ผลการวิจัยพบว่า1) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี ด้านการเรียน การสอนและด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3) ผลการวิเคราะห์การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จากการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่า การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี และด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตามลำดับ สามารถร่วมกันพยากรณ์ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ได้ร้อยละ 39 (R2=0.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นธิยา ภัทรวังฟ้า

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

นัฎจรี เจริญสุข

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี