การพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการปฏิบัติงาน 2) พัฒนา การปฏิบัติงานด้วยการฝึกอบรม และ 3) ประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการในการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี ประชากร ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 339 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 181 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.965 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องมือคือแผนพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และคู่มือประกอบการอบรม ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จัดอบรมตามแผนโดยกลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ 44 คน จากการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนหลัง และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.932 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบที (t-test) แบบ Paired sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านพัฒนานักศึกษาและกิจกรรมนักศึกษา และด้านประสานงานทั่วไป 2) แผนพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ความเหมาะสมของแผนพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของคู่มือประกอบการฝึกอบรมตามแผนการพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การประเมินผลการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรีตามแผนพัฒนาการปฏิบัติงาน พบว่า 3.1) ผลการทดสอบความรู้ ระหว่างก่อนกับหลังการฝึกอบรม ผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.2) ความพึงพอใจต่อแผนพัฒนาการปฏิบัติงาน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.3) ความพึงพอใจต่อคู่มือประกอบการฝึกอบรม พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษา และด้านการออกแบบรูปเล่ม
Article Details
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License