แนวทางการยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนในพื้นที่บ้านนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี
ลักขณา เก่วใจ
จินตกานด์ สุธรรมดี
ศุภรดา แสนยาโต

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนในพื้นที่บ้านนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรเกษตรกร กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ 2562 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลลักษณะปฐมภูมิ โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ พบว่า ปัจจัยที่เกษตรกรรุ่นใหม่เห็นด้วยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านวิทยากร (ค่าเฉลี่ย 4.33) รองลงมามีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับ มาก คือ ด้านผู้รู้/ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ (ค่าเฉลี่ย 4.13) ด้านแหล่งเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.07) ด้านเจ้าหน้าที่และการเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย 4.00) ด้านกิจกรรมการเกษตร (ค่าเฉลี่ย 3.93) ด้านกิจกรรมในการเรียนรู้แต่ละครั้ง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย 3.83) ด้านเนื้อหาหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย 3.77) ด้านระยะเวลาการเรียนรู้แต่ละครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.70) และ ด้านอายุของเกษตรกรรุ่นใหม่ (ค่าเฉลี่ย 3.67) ตามลำดับผลการวิจัยระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนในพื้นที่บ้านนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาในประเด็นด้านการสนับสนุนการสร้างเครือข่าย โดยเน้นให้คณะกรรมการเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้ทำหน้าที่ มากที่สุด (มีค่าเฉลี่ย 3.83) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลักดันให้เกษตรกรรุ่นใหม่ มีบทบาททางสังคมและฝึกความเป็นผู้นำ (ค่าเฉลี่ย 3.73) เท่ากัน ด้านประสานการอบรม ดูงานที่น่าสนใจ (ค่าเฉลี่ย 3.67) ด้านจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (ค่าเฉลี่ย 3.63) ด้านเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอและประสัมพันธ์ผลงานเกษตรกรรุ่นใหม่ ต้นแบบเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่ (ค่าเฉลี่ย 3.53) เท่ากัน และด้านประสานกิจกรรมการผลิต การตลาด (ค่าเฉลี่ย 3.37) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ลักขณา เก่วใจ

สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

จินตกานด์ สุธรรมดี

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ศุภรดา แสนยาโต

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ