องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน โดยทำการวิจัยในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเป็นผู้นำตนเอง (2) การเป็นแบบอย่างที่เป็นผู้นำตนเอง (3) การกระตุ้นการตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง (4) การสร้างรูปแบบความคิดทางบวก (5) การพัฒนาภาวะผู้นำตนเองโดยการให้รางวัลและตำหนิอย่างสร้างสรรค์ (6) การสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงาน และ (7) การอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง และ 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กังวาน พงศาสนองกุล. (2563). การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่เป็นเลิศของผู้จัดการโครงการก่อสร้างในธุรกิจที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2561). SUPER LEADERSHIP: สุดยอดภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ซัคเซส พับลิชชิ่ง.
ดารารัตน์ เกื้ออนันต์. (2567). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การสมรรถนะสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 222-236.
ธิดารัตน์ เอี่ยมเซี่ยม และปทุมพร เปียถนอม. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(1), 101-110.
เนติมา จิ๋วประดิษฐกุล และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 19(2), 159-172.
ปณิลิน จันภักดี. (2565). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พวงเพ็ญ เขียวเสน, ไมตรี จันทรา และสมพร ญาณสูตร. (2562). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 72-80.
พิชญาภา ยืนยาว. (2561). ผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2886-2899.
ภัคณภัทร แสงคำ. (2567). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เรณุกา สุวรรณรัตน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษากับความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. สุวีริยาสาส์น.
วิมลพันธ์ ไวยคูนา และชวน ภารังกูล. (2567). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 25(1), 421-433.
สมโภชน์ อรศักดิ์ และสุชาดา บุบผา. (2564). ภาวะผู้นำชั้นยอดของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิต การทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 289-311.
สุชาติ เสนาสี, วันเพ็ญ นันทะศรี และทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์. (2566). องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 105-118.
Manz, C. C., & Sims, H. P., Jr. (2001). The New Super Leadership: Leading Others to Lead Themselves. Berrett-Koehler Publishers.