ปัจจัยความสำเร็จที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3

Main Article Content

จักรกฤต อภิลาภ
ดารัณ พราหมณ์แก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 3) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และ 4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 เพชรบุรี จำนวน 138 คน โดยการสุ่มแบบง่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 ได้แก่ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ตัว ด้านระบบขององค์กร (X3) ด้านค่านิยมร่วมขององค์กร (X7) ด้านรูปแบบการบริหารขององค์กร (X4) ด้านทักษะขององค์กร (X6) ซึ่งส่งทางบวกทุกตัวมีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 73.50 นำมาเขียนเป็นสมการถดถอยได้ดังนี้ equationtot = 1.790+.135 (X3) + .162 (X7) + .141 (X4) + .138 (X6) 4) ควรให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาทักษะในด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตนเองในการเตรียมความพร้อมในการเลื่อนระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น ควรการจัดทำข้อมูลและแผนการพัฒนาบุคลากรให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหางานล้นคน และให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จักรกฤต อภิลาภ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ดารัณ พราหมณ์แก้ว, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 

References

กมลวรรณ ท้วมทอง. (2564). การนำหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไปปฏิบัติของสำนักงานอัยการในจังหวัดลพบุรี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

กระทรวงวัฒนธรรม. แผนการพัฒนาบุคลากรกระทรวงวัฒนธรรมพ.ศ. 2563 - 2565. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 จาก https://m-culture.go.th th

ฐิติมา สุทธิวาศ และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2563) .ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(1),182-190.

ณัฐดนัย ฉิมพาลี. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของสถานีตำรวจภูธรหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

วิภาภัทร์ ธิโนชัย. (2562). ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2562, 15 พฤษภาคม ). โครงสร้าง ภารกิจ อำนาจหน้าที่. https://www.m-culture.go.th/th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2558. ศูนย์สื่อและสิ่งพิพม์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี. (2564). แผนปฏิบัติการของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี เพชรบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด.

สุชาดา ไทรแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารจัดการความร่วมมือสาธารณะ (Collaborative Public Management สู่การพัฒนาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) กรณีศึกษากรมธนารักษ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.