ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

อรนุช ศรีคำ
ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์
ชนิสรา ไกรสีห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 จาก 12 สาขาวิชา จำนวน 289 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย ตัวแปรพยากรณ์ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียน คุณลักษณะผู้สอน สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ความสัมพันธ์กับครอบครัว แรงจูงใจในการเรียน และเจตคติต่อการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ของ   ลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจับ พบว่า


  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่สูงที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับครอบครัว รองลงมาเป็นด้านคุณลักษณะผู้สอน และด้านแรงจูงใจในการเรียน ตามลำดับ

  2. ตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2566 มี 4 ปัจจัย ได้แก่ เจตคติต่อการเรียน (X6) คุณลักษณะผู้สอน (X2) ความสัมพันธ์กับครอบครัว (X4) และคุณลักษณะของผู้เรียน (X1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .652 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) เท่ากับ .425 สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2adj) เท่ากับ .417 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                Y ′=    1.354 + .829X6 + .908X2 + .837X4 + .852X1


           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


               Zy ′ =   .202ZX6 + .222ZX2 + .221ZX4 + .191ZX1

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อรนุช ศรีคำ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์ 

ชนิสรา ไกรสีห์, ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คณะครุศาสตร์

References

กชพร ใจอดทน และอรณิชชา ทศตา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.), 27(2). 29-41.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2550). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและการเรียนรู้. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชวลิต ศรีคำ, สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก และวินิจ เทือกทอง. (2567). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนสาธิตในมหาวิทยาลัยรัฐโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง.วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(1),41-54.

ตระการ เสนารัตน์ และเบญจมาพร เสนารัตน์.(2566).ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(2),1-12.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.(2561).การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). ตักสิลาการพิมพ์.

พระณัฐวุฒิ อคฺควฑฺฒโน (หนูเกื้อ). (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา.วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2).56-65.

ภัทรนันท์ คำมี, ไพรัตน์ วงษ์นาม และสุรีพร อนุศาสนนันท์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(1),72-84.

ภัทรสุดา ธีรชาญวิทย์, วสันต์ ชัยกากแก้ว, และศุภธนกฤษ ยอดสละ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1521-1534.

รัฐ กันภัย. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประสาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 25(1), 7-16.

เลิศสุขุม ป่งสุด. (2565). แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(3), 57 - 73.

วราภรณ์ ลวงสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะของครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ออนป้า จำกัด.

Coleman, J. S. (1988). Social Capital in the Creation of Human Capital. American Journal of Sociology, 94,S95-S120. http://www.jstor.org/stable/2780243

Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1985). Intrinsic Motivation and self-determination in Human Behavior. New York: Plenum. http://dx.doi.org/10.1007/978-1-4899-2271-7

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson Prentice Hall.

Pallant, J. (2005). SPSS survival manual : a step by step guide to data analysis Using SPSS for Windows (Version 12). Allen & Unwin.

Stringer, K. J., & Kerpelman, J. L. (2010). Career Identity Development in College Students: Decision Making, Parental Support, and Work Experience. Identity, 10(3), 181–200.