การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา และ 3) แบบประเมินผลงานของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองของวิลค็อกสันแบบ Wilcoxon Test for 2 Related Samples และแบบ Wilcoxon Signed Rank Test for One Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการสร้างแบบจำลองวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิราภรณ์ กุลพิมล และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). การเปรียบเทียบมโนมติ เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊สของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 35(2), 50-65.
จุฑารัตน์ ปัจจัยโค, จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, และดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2566). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนแบบจำลองเป็นฐานเรื่อง วัสดุและสสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 13-26.
ธัญญลักษณ์ สวัสดี, ชุติมา วัฒนะศีรี, และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, 40(108), 98-111.
ธีรตา ชาติวรรณ, ธิติยา บงกชเพชร, และอนุสรณ์ วรสิงห์. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโคเวเลนต์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(1), 266–281.
ปรีญานันต์ นวลจันทร์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา, และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดเรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติ ของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), 97-124.
ลฎาภา ลดาชาติ และลือชา ลดาชาติ. (2560). การสร้างแผนภาพความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 6-16
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักรินทร์ อะจิมา. (2563). ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาเเห่งชาติ องค์การมหาชน. (2565). ระบบประกาศและรายงานผลประกาศผลโอเน็ต. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/280
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2565. โรงพิมพ์บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สิทธิโชค เอี่ยมบุญ. (2563). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรัสวดี ปะกิระเค. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฎการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
อนุพงศ์ ไพรศรี, ชาตรี ฝ่ายคำตา, เอกรัตน์ ทานาค, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2565). การสร้างและใช้แบบจำลองในห้องเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 349-358.
Baek, H., Schwarz, C., Chen, J., Hokayem, H., & Zhan, L. (2010). Engaging Elementary Students in Scientific Modeling: The MoDeLS Fifth-Grade Approach and Findings. In: Khine, M., Saleh, I. (eds), Models and Modeling. Models and Modeling in Science Education, vol 6. Springer, Dordrecht. https://doi.org/10.1007/978-94-007-0449-7_9
Gilbert, J. K., & Justi, R. (2016). Modelling-based Teaching in Science Education. In: J. K. Gilbert (Eds), Models and Modeling in Science Education, vol 9. Springer, Switzerland. https://doi.org/10.1007/978-3-319-29039-3