ผลของการจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พทิดา ธงกิ่ง
ประณต นาคะเวช

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทาน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก-โคกไผ่ (สถิตย์วิริยะคุณ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทาน 2 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ในการอ่านคำควบกล้ำ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้การจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติ t-test dependent


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทานหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ Picture Word Inductive Model (PWIM) ร่วมกับนิทานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พทิดา ธงกิ่ง, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์

ประณต นาคะเวช, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คณะศึกษาศาสตร์

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2545). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศิลปาบรรณาคาร.

เตียงทอง จันทร์เจริญ. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง. พริกหวานกราฟฟิค

นวพรรณ พันธุรัตน์. (2556). ชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเองเรื่องคำควบกล้ำ. https://www.kroobannok.com/news_file/p49303621010.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). พัฒนาศึกษา.

พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

วันเพ็ญ เทพโสภา. (2558). หลักภาษาไทย ฉบับนักเรียนนักศึกษา. พ.ศ.พัฒนา.

สถาบันภาษาไทย. (2561). รายงานผลการประเมินการอ่าน 2559. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. เอกสารสำเนา.

สุนิสา มามีสุข. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Picture Word Inductive Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรีพรรณ ฉันวิจิตร. (2557). การพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอนแบบ PWIM ( Picture Word Inductive model). http://www.t3samakkee.ac.th/news-detail__12553

อานงค์ ใจรังกา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Calhoun, E. F. (2017). Teaching Beginning Reading and Writing with the Picture Word Inductive Model. Association for Supervision & Curriculum Development.