ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

ธเนศ สงวนศรี
วิเชียร รู้ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 240 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูปฐมวัย มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การหาคุณภาพเครื่องมือ และค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.66 – 1.00  ค่าความเชื่อมั่น อยู่ที่ 0.95 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 เรียงตามลำดับ คือ ด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะประจำสายงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธเนศ สงวนศรี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะศึกษาศาสตร์

วิเชียร รู้ยืนยง, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะศึกษาศาสตร์

References

ปิยะมาศ ทองเปลว. (2560). การพัฒนาโปแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฝายวารี ประภาสะวัต. (2555). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลเด็กด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (30 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก, หน้า5

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

วราลี ถนอมชาติ และนภัส ศรีเจริญประมง. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. https://eresearch.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=1817&depid=3

สายรุ้ง เหล็กแปง. (2561). การศึกษาสมรรถนะครูปฐมวัยของสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ]. มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุศรา อุดทะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Office of Early Childhood Development Virginia Department of Social Services. (2008). Competencies for Early Childhood Professionals Virginia's Early Childhood Development alignment project, Virginia: Cambridge University Press.